กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กสู่มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

กลุ่มหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด

กลุ่มหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทย สู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน - 2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุดมีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็กคุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ 66เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกิน ร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข ดังนั้น กลุ่มหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด จึงได้จัดทำ โครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กสู่มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และสมาชิกครอบครัวมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก และการให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ครอบครัวของหญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก แกนนำนมแม่ มีความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำนมแม่มีความรู้และทักษะเพื่อส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก

ส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สมาชิกครอบครัว และ แกนนำนมแม่ เรื่อง ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สมาชิกครอบครัว และ แกนนำนมแม่ เรื่อง ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 40  คน คนละ 60 บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,400  บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท     - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท  จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
        - ค่าวัสดุ    ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวของหญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก แกนนำนมแม่ มีความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8360.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สมาชิกครอบครัว และ แกนนำนมแม่ เรื่องส่งเสริมพัฒนาการ การเล่านิทาน จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สมาชิกครอบครัว และ แกนนำนมแม่ เรื่องส่งเสริมพัฒนาการ การเล่านิทาน จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน  40  คน คนละ 60 บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,400  บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท  จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวของหญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก แกนนำนมแม่ มีความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 3 มอบเกียรติหญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนและป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์อนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
มอบเกียรติหญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนและป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์อนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ      * เกียรติบัตรพร้อมกรอบขนาด A4  จำนวน 10  อัน อันละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท      * ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์อนามัยแม่และเด็ก ขนาด 0.8 เมตร x 1 เมตร พร้อมกรอบไม้ จำนวน  8  ป้าย  ป้ายละ 280 บาท เป็นเงิน 2,240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครอบครัวของหญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงเด็ก แกนนำนมแม่ มีความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็ก ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. ส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน


>