กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกม่วง แห่งที่ 1

พื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

 

13.00
2 จำนวนเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์

 

17.00
3 จำนวนเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์

 

16.00
4 จำนวนเด็กน้ำหนักค่อนข้างมาก

 

3.00

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองอย่างเหมาะสมปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม การดูแลจัดการอาหารและโภชนาการในเด็กเล็ก เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน ผอม เตี้ย เป็นต้น โดยมีแนวคิดให้เด็กอายุ 2-6 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างสมำ่เสมอ ข้อมูลปีการศึกษา 2566 (จากโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการโดยสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่าเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง มีเด็กทั้งหมด 193 คน น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ จำนวน 141 คน คิดเป็น 73.05 % น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์อายุ จำนวน 16 คน คิดเป็น 8.29 % น้ำหนักค่อนข้างมาก จำนวน 3 คน คิดเป็น 1.55 % น้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 17 คน คิดเป็น 8.80 % น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 13 คน คิดเป็น 6.73 % จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า เด็กมีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 49 คน คิดเป็น 25.38 % จึงจำเป็นต้องมีการแก้ใขปัญหา การส่งเสริมและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยความร่วมมือทั้งครู ผู้ปกครอง ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัยให้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย

210.00 168.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของของเด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

49.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 49
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองและครู 210

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ

1.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง
2.ประชุมครู เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ
3.ประสานวิทยากร (นักโภชนาการ รพ.เขาชัยสน)
4.ดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย จำนวน 193 คน และครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง จำนวน 17 คน รวม 210 คน
4.1 ดำเนินการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย
4.2 บันทึกข้อมูล น้ำหนักและส่วนสูงลงในโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการโดยสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และรายงานให้ผู้ปกครองทราบ
4.3 ในกรณ๊ที่พบว่าการคัดกรองโภชนาการของเด็กไม่ผ่านเกณฑ์ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ประสานงานกับ รพ.สต. เพื่่อช่วยกันแก้ปัญหา และกำหนดแนาวทางการแก้ไขร่วมกัน
4.4 จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ ในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงในวันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 12.30 - 16.30 น. ดังนี้
1) เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย
2) เรื่องอาหารและโภชนาการพื้นฐาน
3) กิจกรรม เมนูลูกรักอาหารที่ถูกหลักโภชนาการของเด็กช่วงอายุ 2 - 6 ปี
4) ปัญหาการรับประทานอาหารของเด็ก
5) ฝึกปฎิบัติการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย
5.ประเมินความรู้ ผู้ปกครองและครู ก่อน - หลังการอบรม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 193 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 4,825 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 X 2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าแผ่นพับ/เอกสารเผยแพร่ประกอบโครงการ จำนวน 193 ใบ ใบละ 6 บาท เป็นเงิน 1,158 บาท
- ค่าจัดบอร์ดเผยแพร่ความรู้ประกอบโครงการ เป็นเงิน 167 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ ผู้ปกครองและครู เข้าร่วมอบรม จำนวน 163 คน
ผลลัพธ์ คือ ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เด็กที่มีโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ ดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดทำทะเบียนเด็กที่มีปัญหา
2) ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไข
3) ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก 1 เดือน
4) ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก โดยผู้ปกครองและครู ทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
5) แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนัก ส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการ
6) สนับสนุนอาหารเสริม (ไข่ไก่) เพื่อแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ โดยให้เด็กรับประทานไข่ไก่ จำนวน 1 ฟอง/คน ต่อหน้าครู ทุกวัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน 2567 หรือจนกว่าเด็กอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์และสมส่วน
7) จัดอาหารกลางวัน โดยเพิ่มอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ โปรตีน 8) สร้างพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องของเด็กผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเล่น การวาดภาพระบายสีการร้องเพลง การเล่านิทาน เป็นต้น
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าไข่ไก่ คนละ 1 แผงๆละ 135 บาท จำนวน 30 แผง เป็นเงิน 4,050 บาท

2.เด็กที่มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดทำทะเบียนเด็กที่มีปัญหา
2) ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไข
3) ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก 1 เดือน
4) ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก โดยผู้ปกครองและครู ทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
5) แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโต และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการ
6) สร้างพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องของเด็กผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเล่น การวาดภาพระบายสีการร้องเพลง การเล่านิทาน เป็นต้น
7) กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 30 - 60 นาทีหรือมากกว่า ดังนี้
-กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง โดยการเต้นตามเพลง โดยใช้ฮูล่าฮูป ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 08.15 น.
-กิจกรรมกลางแจ้ง โดยการขี่จักรยานขาไถ เล่นเกมส์แข่งจักรยานขาไถ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00 - 11.30 น. หรือปรับเปลี่ยนเวลาได้ตามความเหมาะสม
8) จัดอาหารกลางวันให้เหมาะสมกับเด็ก 9) กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าจัดซื้อฮูล่าฮูปสำหรับเด็ก จำนวน 20 อันๆละ 85 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท
- ค่าจัดซื้อจักรยานขาไถ จำนวน 12 คันๆละ 900 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เด็กได้รับการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 49 คน
ผลลัพธ์ เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16550.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัยให้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง

- ประเมินความรู้ของผู้ปกครองและครู ก่อน - หลังการอบรมตามแบบประเมิน
2. ประเมินเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
- ติดตามตรวจคัดกรองโภชนาการเด็กปฐมวัย ทุก 1 เดือน
3. ประเมินเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ
- ติดตามตรวจคัดกรองโภชนาการเด็กปฐมวัย ทุก 3 เดือน
4. แจ้งผลการประเมินผู้ปกครองรับทราบ
5. ส่งต่อ รพ.สต. ในรายที่มีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้
6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
-จัดทำรายงานสรุปผล จำนวน 1 เล่ม
-รายงานคณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 49 คน ได้รับการแก้ไขปัญหา
ผลลัพธ์ คือ เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และเด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
2.เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงได้รับการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ
3.ผู้ปกครองของเด็กและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย


>