กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมสร้างเสริมอนามัยและสุขนิสัยด้านโภชนาการแก่เด็กตำบลปิตูมุดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บาซาเวาะเซ็ง(ดารุสสลาม)

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันอาหารและโภชนาการนับเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสุขภาพ ประเทศไทยปัญหาด้านโภชนาการเป็นปัญหาระดับประเทศ เนื่องจากปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ เช่น 1.โรคขาดสารอาหาร ได้แก่ โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก โรคขาดวิตามินบีหนึ่ง2.การได้รับสารอาหารเกิน นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อันได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ ที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องปลูกฝังให้เด็ก มีสุขนิสัยด้านโภชนาการที่ถูกต้อง เพราะการมีสุขภาพที่ดีจะมีผลต่อการพัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ทำให้เด็กมีการพัฒนาตามลำดับที่เหมาะสมควบคู่กันไป การให้ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อส่งเสริมให้เด็กรักสุขภาพ และรู้จักการป้องกันโรค
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งสุขนิสัยด้านโภชนาการ ช่วยให้เด็กๆ ที่อยู่ในวัยนักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ การเอาใจใส่ต่อการบริโภค กระทั่งสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บาซาเวาะเซ็ง(ดารุสสลาม) จึงจัดทำโครงการอบรมสร้างเสริมอนามัยและสุขนิสัยด้านโภชนาการแก่เด็กเพื่อให้เด็ก ๆ มีสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยด้านโภชนาการที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่ถูกต้อง
2 เพื่อให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภค
3 เพื่อให้เด็กปราศจากโรคที่เกิดจากโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง
4 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายตามเกณฑ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 320
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมสร้างเสริมอนามัยและสุขนิสัยด้านโภชนาการแก่เด็กตำบลปิตูมุดี

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมสร้างเสริมอนามัยและสุขนิสัยด้านโภชนาการแก่เด็กตำบลปิตูมุดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปิตูมุดีพิจารณาอนุมัติ
    1. ประสานงานติดต่อวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ
               3. ดำเนินการจัดฝึกอบรม ให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก และพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการที่ถูกต้อง
2. เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภค
3. เด็กปราศจากโรคที่เกิดจากโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง


>