กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดัน เบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสา

1.นายอามิง เจ๊ะปอ
2.นางแวเมาะวัฒนเสรีกุล
3.นางสาวรุจิราสะมะแอ
4.นางสาวอารีซาบินดาโอ๊ะ
5.นางสาวสาลินีมือกะ

อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านตำเสาพัฒนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง(Strok) โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) โรคจอประสาทตาเสื่อม แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครอบครัวและประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตำเสาจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยความดันและเบาหวานขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้เสนอเพื่อจัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. และลดการเเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันและลดการเกิภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 90
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับริการตามนัด  ได้มารับบริการตามนัดร้อยละ 80
  3. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามและควบคุมได้ดีเพิ่มขึ้น
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้ ร่วมกับหน่วยงาน ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้ ร่วมกับหน่วยงาน ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. นำเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ 2. จัดทำโครงการ เสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ 3. กำหนดวันและเวลาที่จะดำเนินการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงาน วิทยากร 5. จัดการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้ ร่วมกับหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ และนำเสนอผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ

กลวิธี 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดขั้นต้น และวัดความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี แก่ตัวแทนผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ( เพื่อนช่วยเพื่อน) 2.การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส. 3.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ผิดนัดมารับบริการ และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด จะได้รับการติดตามและมารับยาตามนัดเพิ่มขึ้น
  3. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามและสามารถควบคุมได้ดีเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันและลดการเกิภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 90
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับริการตามนัด ได้มารับบริการตามนัดร้อยละ 80
3. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามและควบคุมได้ดีเพิ่มขึ้น


>