กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2560 โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพบว่ากลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอนอุด 1.4 ซี่ ต่อคน มีภาวะเหงือกอักเสบ 66.3% จะเห็นได้ว่าเด็กไทยกว่า 50% มีปัญหาฟันผุ และมากกว่า 60 % ของผู้ใหญ่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนและครูจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง อีกทั้งเพื่อพัฒนาชมรมเด็กไทยฟันดี ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนแกนนำมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ฝึกทักษะและแปรงฟันที่ถูกวิธี และทำให้เกิดโรคฟันผุน้อยลงซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบในช่องปากและเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปากต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของนักเรียนทราบถึงบทบาทแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกต้องและตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้น

ร้อยละ 90 ของนักเรียนแกนนำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในกลุ่มเพื่อน และครอบครัวได้

0.00
3 เพื่อให้เกิดชมรมเด็กไทยฟันดีในโรงเรียนและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนประถมศึกษามีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย..........

  • ทดสอบความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม

  • บทบาทนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ

  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างฟัน โรคฟันผุและการตรวจฟันเบื้องต้น

  • การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพฟัน

  • การดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก และสาธิตการแปรงฟันพร้อมฝึกปฏิบัติ

  • การจัดตั้งชมรมและแนวทางการดำเนินงานชมรมเด็กไทยฟันดี

  • ทดสอบความรู้หลังเข้ารับการอบรม

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารกลางวัน60 บ. x 42 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,520 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. x 42 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,520 บาท

  • ค่าวิทยากร300 บ. x 5 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท

  • ชุดส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (เพื่อฝึกปฏิบัติแปรงฟัน) 300 บ. x 42 ชุด เป็นเงิน 12,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19140.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
2.มีการจัดตั้งชมรมเด็กไทยฟันดีในโรงเรียนประถมศึกษา
3.นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขภาพและขยายผลไปยังกลุ่มเพื่อนนักเรียนได้ถูกต้อง


>