กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการไสอ้อร่วมใจต้านภัยโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม.หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านพร้าว

1.นางจรูญลักษณ์ รุ่งทวีชัย
2.นางวันทนา ฉิมดำ
3.นางว่อน บุญเอียด
4.นางรัชนก จันทร์นวล
5.นางพัทธรินทร์ พรมแทนสุด

พื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์กลุ่มโรคเรื้อรังในปัจจุบันเป็นปัญหาให้กับคนในชุมชนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังกันมาก โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนมาตาม ซึ่งเป็นภัยเงียบของคนในชุมชน และสาเหตุเหล่านี้มาจากพฤติกรรมของประชาชนในการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม รวมถึงการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นทางอสม.ม.5 เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้ทำโครงการไสอ้อร่วมใจต้านภัยโรคเรื้อรัง เพื่อจัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และสนับสนุนการปลูกผักปลอดสารพิษต้านโรคให้กับประชาชนในชุมชน พื่อลดการเกิดโรค ทั้งโรคที่เกิดจากพฤติกรรม และโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันแก้ไข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และได้มีการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และสามารถเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขอได้อย่างทั่วถึง

90.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมการรับประทานผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

ประชาชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม. จำนวน  1 ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่องๆละ 3,000 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของประชาชน ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น/ประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรองlสุขภาพโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6450.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมผักปลอดสารต้านโรค

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมผักปลอดสารต้านโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก 50 คนๆละ 1 ซองๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆละ 70 บาทคิดเป็นเงิน 3,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทคิดเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชมๆละ 300 บาทคิดเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพันธ์ุผักสำหรับปลูกในครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 ซอง/ประชาชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,500.00 บาท

หมายเหตุ :
****ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม****

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
3.ปรเชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง


>