กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำส่งเสริมความปลอดภัย การป้องกันการจมน้ำ รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน โดย นางศุภลักษณ์ นิลตีบ

นางศุภลักษณ์นิลตีบ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

พื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุก ๆ 1 เดือน จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตประมาณ 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีอัตราเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง 10,932 คน โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็กและมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม – พฤษภาคม ) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด จากข้อมูลสถิติปี 2559 ของจังหวัดพัทลุงมีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ 7 ราย จากประชากรเด็กทั้งหมด 97,002 คน คิดเป็นอัตราตาย 8.2 ต่อเด็กแสนคน ซึ่งในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำไม่เกิน 6 ราย อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เท่ากับ 6.2 ต่อประชากรเด็กแสนคน การป้องกันการจมน้ำในเด็กควรมีมาตรการในการดำเนินงานให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการจมน้ำทั้งทางด้านปัจจัยตัวบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ก่อการดี (MARIT MAKER) เป็นแนวทางการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ ที่ครอบคลุมในมาตรการป้องกันด้านต่างๆ ที่สำคัญและเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้พื้นที่เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำแบบสหสาขาต่อเนื่องและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียอันจะเกิดขึ้นแก่เด็กและประชาชนทั่วไป ให้มีความปลอดภัยจากการจมน้ำ ตกน้ำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการแกนนำส่งเสริมความปลอดภัย การป้องกันการจมน้ำ เพื่อให้ความรู้และทักษะการป้องกันการจมน้ำ ส่งเสริมความปลอดภัยทางน้ำเป็นจุดเริ่มต้นและพัฒนาการดำเนินการป้องกันการจมน้ำ ผู้ก่อการดี(MERIT MAKER) ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำมีความรู้การป้องกันการจมน้ำ สร้างความปลอดภัยทางน้ำ

แกนนำหมู่บ้านมีทักษะความรู้ในการป้องกันเหตุคนจมน้ำ

80.00 80.00
2 เพื่อให้แกนนำมีทักษะในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ

แกนนำหมู่บ้านสามารถรู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อจมน้ำ และช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันการจมน้ำ สร้างความปลอดภัยทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันการจมน้ำ สร้างความปลอดภัยทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท คิดเป็นเงิน 3,500 บาท ค่าจัดทำคู่มือความปลอดภัยทางน้ำ จำนวน 50 ชุดๆละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำหมู่บ้านสามารถรู้วิธีเอาตัวรอดเมื่อจมน้ำและช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือการจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือการจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม. จำนวน 1 ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท  คิดเป็นเงิน 3,600 บาท ค่าเช่าสระว่ายน้ำ  คิดเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำหมู่บ้านสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

แกนนำกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการป้องกันการจมน้ำและรู้วิธีช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้อย่างปลอดภัย


>