กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยเดินทางปลอดภัยใส่ใจสวมใส่หมวกนิรภัย ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย

 

80.00

หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตขณะขับขี่ยานพาหนะสองล้อ เช่น รถจักรยาน และจักรยานยนต์ และการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่มาจากอาการบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บที่ศีรษะและ ลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้ การส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยและสวมหมวกนิรภัยมากขึ้น จึงเป็นวิธีการสำคัญ ในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ศีรษะ อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บประเภทนี้ นอกจากนี้ผู้ขับขี่ที่ไม่สวม หมวกนิรภัยยังเพิ่มภาระให้แก่โรงพยาบาลที่รับตัวเข้ารักษา เป็นภาระแก่บุคคล ครอบครัว (หรือผู้ดูแล) และสังคม หากต้องกลายเป็นคนพิการ สาเหตุการชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย 99% เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง 7% เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยนี่เอง สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร และพฤติกรรมการขับขี่ที่ประมาท ขาดความระมัดระวัง ชะล่าใจ ขับขี่ด้วยความเร็ว การฝ่าสัญญาณไฟ การขับขี่ในช่องจราจรที่ไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนช่องทางจราจรโดยไม่เปิดสัญญาณไฟ เนื่องจากอาจเข้าใจว่าเป็นพื้นที่ที่การจราจรไม่ได้หนาแน่นเหมือนในเมือง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ดังนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมวินัยจราจร ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำ โครงการหนูน้อยเดินทางปลอดภัยใส่ใจสวมใส่หมวกนิรภัย ประจำปี 2567 ขึ้น โดยการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางท้องถนน และการสาธิตการใช้หมวกนิรภัยอย่างถูกวิธีให้กับเด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง โดยเน้นให้เด็กๆ เป็นศูนย์กลาง ครูและผู้ปกครองจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กๆ ได้เดินทางไปกลับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างปลอดภัย และหวังจะลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กไทยจากอุบัติเหตุทางถนน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนและกระตุ้นให้ครูและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการใส่หมวกนิรภัยให้กับเด็กเล็ก
  1. มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนและกระตุ้นให้ครูและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการใส่หมวกนิรภัยให้กับเด็กเล็ก
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใส่หมวกนิรภัยและมีวินัยจราจรในการขับขี่รถจักรยานยนต์
  1. ตระหนักในการใส่หมวกนิรภัยและมีวินัยจราจรในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็ก จากอุบัติเหตุทางถนน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 42
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/06/2024

กำหนดเสร็จ 22/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 22 มิถุนายน2567 เวลา 08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียน เวลา 08.30 – 09.00 น. - พิธีเปิดการอบรม โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน เวลา 09.00 – 12.00 น. -เข้ารับการฝึกอบรม “หนูน้อยเดินทางปลอดภัยใส่ใจสวมใส่หมวกนิรภัย
-กฎหมายจราจรเบื้องต้น -สัญญาณไฟ สัญลักษณ์บนถนนและป้ายจราจรต่างๆ เวลา 12.00 - 13:00 น. - พักรับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00 - 16.30 น. - กิจกรรม สาธิตใช้หมวกนิรภัยอย่างถูกวิธีให้กับเด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง -กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การขับขี่ปลอดภัยและการใช้ถนน งบประมาณ
1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1×3 เมตร เป็นเงิน 750.- บาท 2. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 1 วันๆละ3 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาทเป็นเงิน 3,600.- บาท 3. ค่าอาหาร จำนวน 72 คนๆละ 1 วันๆละ 1 มื้อๆละ 50.- บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 72 คนๆละ 1 วันๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 3,600บาท 5. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ - หมวกนิรภัยสำหรับเด็กจำนวน 10 ชิ้นๆละ 380.- บาทเป็นเงิน 3,800.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,350.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2567 ถึง 22 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนและกระตุ้นให้ครูและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการใส่หมวกนิรภัยให้กับเด็กเล็ก
2.ผู้เข้ารับการอบรมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใส่หมวกนิรภัยและมีวินัยจราจรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยได้รับความรู้และการฝึกทักษะการขับขี่ปลอดภัยและการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการขับขี่
2. ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมรณรงค์ในการสร้างวัฒนธรรมการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนน
3. สนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางถนนและสวมหมวกนิรภัย 100 % ปลูกฝังวินัยจราจรและการขับขี่ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย


>