กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล และเจ้าหน้าที่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง(ADL<11 คะแนน)
- การพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ”
- การนำศักยภาพผู้สูงอายุ เช่น การเล่านิทาน การปั้น การทำเครื่องเล่นพื้นบ้าน มาร่วมแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนากิจกรรมและใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุในมิติความร่วมมือชุมชนและศาสนา
- การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพจิต อารมณ์ผู้สูงอายุ
- การจัดรูปแบบบริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น คัดกรองตาต้อกระจก การมองเห็น เป็นต้น
- การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เช่น การใช้ภูมิปัญญาชุมชน ประเพณี เป็นต้น แก่กลุ่มและชมรมผู้สูงอายุ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- การจัดบริการสาธารณสุขดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่จำกัดสิทธิของผู้สูงอายุ
- การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ(Day care)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกระบบดูแลผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะแกนนำ อสม.เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์
- แกนนำ อสม.เฝ้าระวังสุขภาพและเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำระบบข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การมีนโยบายของ อปท.เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุ(ใช้งบกองทุนสุขภาพตำบลไม่ได้ แต่สามารถเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูคนพิการ)
- การมีนโยบายสร้างความมั่นคงด้านการออมทรัพย์ผ่านกองทุนผู้สุงอายุ ร่วมกับ อปท.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองเบื้องต้นทางสุขภาพจิต การรับคำปรึกษา เช่น เสียงตามสายส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน วิทยุท้องถิ่น คลิปสั้น
2. เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้
3. เสริมทักษะการตรวจเช็คตัวเองด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดการความเครียด การให้คำปรึกษา การเสริมพลังสุขภาพจิต
4. รณรงค์ลดการใช้แอลกอฮอล์และสารออกฤทธิ์ทางประสาทที่เป็นอันตรายในชุมชน
5. การให้ความรู้ครอบครัว ชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตคู่ชีวิต และลูกหลาน การป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในผู้หญิงและเด็ก
6. ให้ความรู้ครูในการส่งเสริมสุขภาพจิต การงดใช้ความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการทำโทษ การทะเลาะเบาะแว้งในกลุ่มนักเรียน
7. พัฒนาเนื้อหาในหลักสูตรของโรงเรียน ในการฝึกทักษะชีวิตและบูรณาการพลังสุขภาพจิตในหลักสูตรของโรงเรียน
8. เพิ่มกิจกรรมและการเรียนรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะสมองเสื่อม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล วางแผน พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต
2. ค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตและให้การช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่ ความเครียด ความสุข พลังสุขภาพจิต การเบื่อหน่ายหมดไฟ โรคซึมเศร้า การเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
3. เสริมความตระหนักความเข้าใจทางด้านสุขภาพจิตเพื่อลดการตีตราและการ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลและครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต
4. ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการเข้าสังคมแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
5. เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และ การส่งต่อในเครือข่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อที่ต่อสุขภาพจิต
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดที่พักผ่อนในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน เช่น การจัดแข่งกีฬา การจัดงานสังสรรค์วันปีใหม่ การจัดงานประเพณีสงกรานต์ การจัดเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพ การจัดร้องเพลงคาราโอเกะ
3. ใช้ศิลปะ ดนตรี เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ดนตรีในสวน ศิลปะในสวน นิทรรศการศิลปะเพื่อสุขภาพจิต
4. นำโปรแกรมการส่งเสริมและดูแลสุขภาพจิตไปใช้ในที่ทำงาน ทำให้เกิดองค์กรแห่งความสุข
5. ลดการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันการเป็นพิษต่อระบบประสาท การทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการไม่ล้อเลียนหรือตีตราผู้มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
2. กำหนดนโยบายองค์กรเอกชนและในชุมชน ให้มีระบบการให้คำปรึกษา การส่งต่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี เช่น ห้องพักผ่อน ห้องน้ำชาในที่ทำงาน ห้อง ออกกำลังกาย สวนพักผ่อน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก และกระบวนการ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาแกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องสุขภาพจิต การให้คำปรึกษา ทักษะเบื้องต้นในการดูแลผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต การคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตและการส่งต่อที่เหมาะสม
2. การเปิดสายด่วนให้คำปรึกษาเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจโดยอาสาสมัคร พยาบาลเกษียณ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการคำปรึกษา
3. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต
4. เปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพจิตจากเชิงสถาบันเป็นพื้นที่ของชุมชน เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และการส่งต่อในเครือข่าย
5. พัฒนาระบบการส่งต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ระบบการฝึกการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตสำหรับอาสาสมัคร ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินสำหรับ อสม., รพ.สต. ระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ทั้งออนไลน์และออนไซต์
6. พัฒนาระบบ เพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับเยาวชน 16-25 ปี ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แหล่งการให้การช่วยเหลือ และส่งต่อ
7. จัดตั้งเครือข่ายสุขภาพจิตภาคประชาชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
8. พัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน ให้สถาบันวิชาการบูรณาการร่วมมือกับสถาบัน ให้บริการทางสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานด้านสุขภาพจิตสำหรับหน่วยงาน ในท้องถิ่น เช่น รพ.สต. หน่วยงานบริการสุขภาพของท้องถิ่น อปท.
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่าชุมชน การปลูกต้นไม้ริมถนนเพื่อเป็นตัวกรองฝุ่นละออง
2. การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
3. การส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการจัดการไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่
4. การส่งเสริมการเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และรถโดยสารสาธารณะ
5. การสร้างหรือปรับปรุงทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน ลดการใช้รถยนต์
6. การสร้างห้องปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน รวมถึงชุมชนในประเทศเพื่อนบ้าน ถึงความสำคัญของป่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า การเผาในที่โล่งและหมอกควัน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน ด้านการจัดทำแนวป้องกันไฟ การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
- การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ในชุมชนด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ไม่เกิดควันดำ
- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ปฎิบัติงานโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนด้านการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรมสีเขียว
- การสื่อสารชุมชนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น Air4Thai และเว็บไซต์ Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ www.cmuccdc.org (เครื่อง DustBoy) ของ ม.เชียงใหม่ หรือยักษ์ขาว ของ ม.แม่ฟ้าหลวง หรืออื่น ๆ ตลอดจนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา
2. การดำเนินการระหว่างเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การสื่อสารถึงข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันต่อสถานการณ์ให้แก่ชุมชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสายในชุมชน สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
- การให้คำแนะนำประชาชนด้านการปฏิบัติตนและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การลดเวลาหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน การเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
3. การพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การใช้เป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
4. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง แหล่งกำเนิด และการจัดการฝุ่นละออง PM2.5
5. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านฝุ่นละออง ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระบบและกลไกด้านการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ (การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และหมอกควัน)
2. การจัดกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
3. การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน หรือชุดปฏิบัติการระดับชุมชน เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง และการดับไฟกรณีการเกิดไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่โล่ง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันภัยอำเภอ
4. การพัฒนาระบบกำกับติดตามการปฏิบัติตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำหนดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด การไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อย
5. การสร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และหมอกควัน
6. การเปิดคลินิกมลพิษและห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขช่วงเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
stars
แนวทางดำเนินงาน : การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน
2. การจัดให้มีการซ้อมแผน การเผชิญเหตุระดับชุมชน
3. การสร้างแกนนำในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
2. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง เช่น การเดินหรือขี่จักรยานแทน การเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้รถร่วมกัน หรือ Car pool อย่างทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. การสร้างแนวปฏิบัติในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างของชุมชน
4. การเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมระหว่างชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง