กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกซ้อมสำหรับป้องกันภัยต่างๆ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตัวบ่งชี้ 1.3 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย และตัวบ่งชี้ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้
ปัญหาความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็กปฐมวัยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสอนให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายกับตัวเด็กเอง เนื่องด้วยกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กเล็กที่ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่บาดเจ็บได้ง่าย และเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากสถานการณ์อันตรายได้ เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมช้ำๆ ที่ได้ใช้ร่างกายในการมอง ฟัง และเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ซึมซับข้อมูลที่เป็นนามธรรมได้ง่าย หลักในการป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและเพิ่มการควบคุมดูแลให้มากขึ้น การสอนเด็ก ให้ป้องกันตนเอง และการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่ไม่ทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้สึกถูกบังคับ เช่นการคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้ว่าเมื่อขึ้นรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทันที เป้าหมายสูงสุดของการเรียนเรื่องความปลอดภัย คือทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการลงมือปฏิบัติ เด็กควรได้รับการเตรียมตัวให้รู้จักกับสถานการณ์ที่อันตรายเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เด็กต้องได้รับการสอนให้สังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎและข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กย่อมมีแนวโน้มในการป้องกันอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่นได้
การส่งเสริมความปลอดภัยด้านร่างกายให้เด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือการประสบปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อไปในอนาคต เช่นความพิการ การได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีความรู้และเป็นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงได้จัดโครงการอบรมซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2567 ขึ้น กิจกรรมโครงการมีการซ้อมแผนป้องกันภัยที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นการใช้บันได อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน การป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ อันตรายจากไฟ การซ้อมดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการสื่อสารกับผู้ใหญ่ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ความปลอดภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การเก็บของเล่นและสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ การไม่จับ หรือสัมผัสยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง สารเคมีหรือสารพิษต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยต่างๆให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก

ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ร้อยละ 70

0.00
2 2. เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความพร้อมในการป้องกันภัยด้านต่างๆและลดปัญหาการเสียชีวิตจากภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกันตัวเองจากภัยต่างๆ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกัน ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 12
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/07/2024

กำหนดเสร็จ 06/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียน เวลา 08.30 – 09.00 น. - พิธีเปิดการอบรม โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน เวลา 09.00 – 12.00 น. - บรรยายให้ความรู้ เรื่อง อัคคีภัย - การเกิดอัคคีภัย การป้องกันการเกิดอัคคีภัย
- การอพยพหนีไฟ
- การใช้อุปกรณ์เคมีดับเพลิงขั้นต้น
- บรรยายให้ความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความปลอดภัย (การเก็บ สิ่งของที่เป็นอันตราย) - การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน - อันตรายจากไฟฟ้า
- อันตรายจากการสัมผัสยา
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- ยาฆ่าแมลง สารเคมีหรือสารพิษต่างๆ
- วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น เวลา 13.30 – 16.30 น. ฝึกปฏิบัติ
- เรื่องการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น - ฝึกซ้อมแผนอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์เคมีดับเพลิงขั้นต้น - เรื่องซ้อมแผนการอพยพหนีและวิธีการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดอันตายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น
โดยวิทยากรจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1×3 เมตรเป็นเงิน 750.- บาท 2. ค่าวิทยากร จำนวน2 คนๆละ 1 วันๆละ3 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาทเป็นเงิน 3,600.- บาท 3. ค่าอาหาร จำนวน 62 คนๆละ 1 วันๆละ 1 มื้อๆละ 50.- บาท เป็นเงิน 3,100.- บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คนๆละ 1 วันๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,100บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,550.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กรกฎาคม 2567 ถึง 2 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก ร้อยละ 100      2. ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้พื้นฐานสามารถแจ้งเหตุระบุสถานที่เกิดเหตุในการช่วยเหลือในเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 70      3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความพร้อมในการป้องกันภัยด้านต่างๆและลดปัญหาการเสียชีวิตจากภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80      4. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกัน ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>