กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

กลุ่มสตรีตำบลโคกหล่อ

1.นางสุจินดาภูมิมาตร
2.นางศิรินทราชิตแก้ว
3.นางอติพรอินทรทอง
4.นางเตือนใจคงรอด
5.น.ส.รัชณีย์มุกดามนตรี

ตำบลโคกหล่อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

20.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

50.00

ปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวและหลอดเลือด มีอันตราย 85.04,3.64,55.25 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการได้แก่ 1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที 2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อและลดการรับประทานอาหารไข้มัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยล่ะ 20-30 โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ลดลงมากเช่นกัน ทั้งการออกลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย
กลุ่มสตรี เทศบาลตำบลโคกหล่อ จึงได้จัดทำ โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคขึ้นในสมัยปัจจุบันวิทยาการทั้งหลายเจริญขึ้นโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว เช่น ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืช การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการตัดต่อพันธุกรรมพืชและสัตว์ เทคโนโลยีที่อ้างว่า ทันสมัยกลับทำให้ดินเสีย น้ำเสีย ระบบนิเวศโดยรวมเสีย ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในสมัยปัจจุบัน ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่จะใช้เป็นอาหารปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

20.00 40.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

50.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพ/อบรมให้ความรู้ จำนวน 12 ครั้ง (12หมู่บ้าน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพ/อบรมให้ความรู้ จำนวน 12 ครั้ง (12หมู่บ้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารพิษตกค้างและอบรมให้ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ -ค่าไวนิลโครงการ 1 * 3 ม.1 แผ่น เป็นเงิน 450 บาท -ค่าตรวจสารพิษ/สารเคมี ตกค้างในกระแสเลือด จำนวน 12 ครั้งฯละ 20 คนๆ50 บาท เป็นเงิน 12,000บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 12 ครั้ง เป็นเงิน36,000บาท -ค่าเอกสารประกอบการอบรม 20 บาท 12 หมู่ๆละ20 คน เป็นเงิน 4800บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 30 คนๆละ 60 บาท 12 ครั้ง เป็นเงิน 21,600บาท -ค่าอาหารว่าง 30 คน ๆ30 บาท 2 มื้อ 12 ครั้ง เป็นเงิน 21600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 20 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสารพิษตกค้างในกระแสเลือด และมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันสารพิษตกค้างในร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
96450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสนับสนุนพันธุ์พืชเป็นการสาธิตแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนพันธุ์พืชเป็นการสาธิตแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าพันธุ์ผัก 240 ครัวเรือน ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 24000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้พันธุ์พืชผักในการสาธิตในการปลูกและเข้าใจในการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประเมินผลการดำเนินตามแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลการดำเนินตามแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างประชุม 15 คน จำนวน 2 ครั้งๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท -ค่าเกียรติบัตรหมู่บ้านต้นแบบ 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ และได้หมู่บ้านต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 121,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพ
2. ลดอัตราการเจ็บป่วยที่เกิดจากการมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง
3. ประชาชนมีความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตัวเอง


>