กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนน่าอยู่ “ปลูกผักสวนครัวปลอดสาร จากการจัดการขยะ”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

บ้านดอนมูล หมู่ที่ 2 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสภาพปัจจุบันนี้ ปัญหาขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น สาเหตุจากประชาชนยังขาดความรู้ความตระหนักในการลดขยะ การคัดแยกขยะที่ต้นทาง การมีทัศนคติว่าขยะเป็นหน้าที่ของท้องถิ่น ไม่มีการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะของคนในชุมชนร่วมกัน
จากการสำรวจข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือนด้วยตนเองของบ้านดอนมูล หมู่ที่ 2 ตำบลจำป่าหวาย พบว่าคนในชุมชนร้อยละ 80 ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดความรับผิดชอบในการลด คัดแยกขยะในครัวเรือน มีพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนไม่เหมาะสม โดยการนำไปเผาเป็นส่วนใหญ่ และทิ้งตามที่สาธารณะในชุมชน เป็นแหล่งน้ำขังของลูกน้ำยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกซึ่งระบาดในพื้นที่ตำบลจำป่าหวายทุกปี จากข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกตำบลจำป่าหวาย พบว่า ปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 39 คน ปี 2566 จำนวน 8 คน ตามลำดับ และต้นปีงบประมาณ 2567 มีผู้ป่วย จำนวน 7 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 2 ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่ทราบว่าโรคไข้เลือดออกก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายทางตรงในการควบคุมโรคและทางอ้อม ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียโอกาสของประชาชนที่เจ็บป่วยและครอบครัว รวมถึงรายได้ของแรงงานที่หายไปฯลฯ
จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลจำป่าหวาย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางดอนมูล หมู่ที่ 2 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

4.1 เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักแก่แกนนำครัวเรือนเกี่ยวกับ การลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างถูกต้อง
4.2 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจปริมาณข้อมูลขยะมูลฝอยในชุมชนที่เกิดขึ้นในแต่ละวันโดย อสม. แยกตามประเภทขยะ และการนำขยะแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์
2.ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน สมาชิกสภา อบต. ประธานแม่บ้าน ประธานผู้สูงอายุ กลุ่มอสม. และแกนนำครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อคืนข้อมูลและกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ งบประมาณ ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม x 33 คน เป็นเงิน 3300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชุมชนมีข้อมูลปริมาณขยะครัวเรือนที่เกิดขึ้นต่อวัน 2.มีการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานวิทยากร จากหน่วยงานอปท./ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล อบรม ระยะเวลา 1 วัน 2.จัดอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาขยะ ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาขยะ การมุ่งเน้นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลักการ 3RS และการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการชุมชนด้านการเฝ้าระวังการลักลอบนำขยะทิ้งในที่สาธารณะ การขับเคลื่อนกิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรมถังขยะเปียกลดโลกร้อน 3. ผู้นำชุมชนและอสม.ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ประเภทของขยะ และประโยชน์ของลดขยะลดโรค การคัดแยกขยะที่ต้นทางตามประเภทของขยะ ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 27 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำครัวเรือนที่เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2.แนนำครัวเรือนสามารถจัดการขยะครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12285.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานวิทยากรจากสถานีพัฒนาที่ดินมาให้ความรู้เกี่ยวกับแปรรูปขยะอินทรีย์ โดยทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมักและน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ 2.ดำเนินการจัดอบรมเป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง 3.ประเมินผลก่อนและหลังการอบรม - ค่าอาหารว่างและพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,375.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเวลา 3 ชั่วโมงๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม(ถังดำ,กากน้ำตาลฯลฯ) เป็นเงิน 1,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการแปรรูปขยะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2.ผู้เข้าอบรมสามารถจัดการขยะครัวเรือนอินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4375.00

กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับธนาคารขยะรีไซเคิล
  2. สร้างกลไกและระบบกองทุนธนาคารขยะหมู่บ้าน 2.1จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิลรับซื้อขยะรีไซเคิล(ร่วมกับ อบต.) 2.2 จัดทำแผนรับซื้อขยะรีไซเคิลของครัวเรือนในชุมชนในรูปของกองทุนสวัสดิการ ในราคาที่สูงแต่ครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง 2.3 จัดทำบัญชีการซื้อขายขยะรีไซเคิลให้มีความโปร่งใส 3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดกองทุนสวัสดิการธนาคารขยะของชุมชน โดยคนในชุมชนเป็นเจ้าของร่วม 2. มีการนำขยะรีไซเคิลไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ขยะที่เหลือนำไปกำจัดลดลง 3. ลดปัญหาจากการเผา ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนีดขึ้น และน่าอยู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมติดตามผลความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามผลความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คณะกรรมการจัดประชุมติดตามผลความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินโครงการจำนวน 2 ครั้ง 2.สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทราบ   งบประมาณ  ค่าอาหารว่างและพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,750.-บาท                   ค่าสรุปรายงานโครงการและจัดทำรูปเล่ม 2 เล่มๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. รายงานการประชุมติดตามผลความก้าวหน้าโครงการ
  2. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม ผลลัพธ์ 1.ปริมาณขยะครัวเรือนและขยะชุมชนลดลง 2.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 แกนนำครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างถูกต้อง
8.2 ครัวเรือนในชุมชนมีการจัดกิจกรรมการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน


>