2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วันงดสูบบุหรี่โลกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ ให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมและกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย/กฎหมายเพื่อควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) ซึ่งวันงดสูบบุหรี่โลกปีนี้ (วันที่ 31 พฤษภาคม 2567) ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษอยู่มากมาย อาทิ นิโคติน มีลักษณะเป็นน้ำมัน ไม่มีสี มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง, ทาร์ เป็นน้ำมันเหนียวข้น สีน้ำตาล โดยสารเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งสิ้น ควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียงหลายประการ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งคร่าชีวิตประชากรโลกมากกว่าสาเหตุอื่นๆ การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตร้อยละ 17 จากโรคหัวใจทั้งหมด การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญลำดับที่ 2 ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด รองจากโรคความดันโลหิตอาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและอวัยวะอื่น อีกทั้งควันบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคบางโรค เช่น โรคหอบหืด หรือโรคภูมิแพ้มีอาการกำเริบขึ้น ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ ๔๐๐,๐๐๐ คน หรืออาจจะมากกว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันเราเรียกกลุ่มนี้ว่า สูบบุหรี่มือสอง
ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนเทศบาลตำบลโคกหล่อ ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูบบุหรี่ จึงได้จัดทำ“โครงการชาวโคกหล่อร่วมใจ ป้องกันภัยจากบุหรี่” เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เท่าทันถึงโทษ และพิษภัยของบุหรี่ ลดความเสี่ยงของการติดบุหรี่ และการเกิดโรคต่างๆ ตามมา รวมทั้งการรณรงค์และสร้างแรงจูงใจในการลด ละเลิก สูบบุหรี่ เพื่อผลักดันให้“สังคมไทยปลอดบุหรี่”อย่างแท้จริงได้ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2024
กำหนดเสร็จ 31/08/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. สามารถสร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
2. ชุมชนเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันในตนเองต่อปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน