กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะตำบลจำป่าหวาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลจำป่าหวาย

หมู่ที่ 1-13 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

จำนวนประชากรตำบลจำป่าหวาย 8429 คน(ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ ) ปริมาณขยะโดยการคาดการณ์0.9 กก/คน/วัน =ุ6472 กก.

6,472.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ครัวเรือนท้ั้งหมด 2508 หลัง (275x100/2508=10.96 หรือ จำนวน 275 ครัวเรือน

10.96
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 2508 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์ขยะเปียก ทั้งหมด จำนวน 2249 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 100

89.67
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2508 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่มีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูป 153 คิดเป็นร้อยละ 6.1

6.10
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2508 ครัวเรือน สถานการณ์จำนวนครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้ง 574 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 22.88

22.80
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

1.00

ปัจจุบันขยะเป็นปัญหาสำคัญและเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้เป็นวาระเร่งด่วน ตั้งแต่ปี 2559 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนให้หน่วยงาน องค์กรในระดับพื้นที่มีการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการลด คัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดหรือต้นทาง ได้แก่ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองท้องถิ่น โครงการธนาคารขยะ เป็นต้น
ปัญหาขยะในพื้นที่ตำบลจำป่าหวายในปัจจุบันมีความสำคัญและมีความเร่งด่วนต้องรีบดำเนินการแก้ไข เนื่องจากตำบลจำป่าหวายไม่มีระบบการกำจัดขยะที่ปลายทาง ประกอบกับประชาชน มีความคุ้นเคยกับการที่มีหน่วยงานและเอกชนเข้ามาเก็บขยะถึงที่ โดยไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ ขาดความต่อเนื่องในการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะที่ต้นทางสถานการณ์ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น จากการสำรวจข้อมูลขยะครัวเรือนในแต่ละวันของตำบลจำป่าหวายโดย อสม. พบว่ามีปริมาณขยะเกิดขึ้น จำนวน 5013 กิโลกรัมต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเป็นประจำน้อยมาก เพียงร้อยละ 13.90 จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1978 หลัง มีการลักลอบนำขยะไปทิ้งแบบกองและเผาขยะในที่โล่ง การทิ้งขยะในที่สาธารณะ ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนและชุมชนตามมา ได้แก่ การระบาดของโรคไข้เลือดออกที่พบว่าตำบลจำป่าหวายมีการระบาดของโรคทุกปี จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ในปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 39 ราย ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน8 ราย ปัญหาการร้องเรียนเนื่องจากการทิ้งและการเผาขยะในที่สาธารณะ ซึ่งในปี 2567 มีการฟ้องร้องคดีไปถึงศาลปกครอง จำนวน 1 ราย เป็นต้น
จากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ในปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 39 ราย ปี 2566 พบผู้ป่วย จำนวน8 ราย ปัญหาการร้องเรียนเนื่องจากการทิ้งและการเผาขยะในที่สาธารณะ ซึ่งในปี 2567 มีการฟ้องร้องคดีไปถึงศาลปกครอง จำนวน 1 ราย เป็นต้น
จากการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะของประชาชนตามครัวเรือนในพื้นที่ตำบลจำป่าหวายทั้ง 13 หมู่บ้าน พบว่าร้อยละ 50 เป็นขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ ร้อยละ 25 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 15เป็นขยะทั่วไปและร้อยละ 10 เป็นขยะอันตรายและขยะติดเชื้อ
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากมีการส่งเสริมให้มีการจัดการขยะโดยการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางสามารถนำขยะแต่ละประเภทหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และลดปัญหาขยะตกค้างได้ถึงร้อยละ 80
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) เป็นประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการขยะที่ต้นทางและการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเจ้าของปัญหาให้เกิดความยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะตำบลจำป่าหวาย ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน 6742 กิโลกรัม เป้าหมายลดขยะครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน ร้อยละ 70 ( ลดได้ 4720 กิโลกรัม) ขยะรีไซเคิล ประมาณร้อยละ 25 ของขยะทั้งหมด =1618 กก.(คาดว่าจะทำได้ขั้นต่ำ ร้อยละ 80= 1294 กก) ขยะเปียก ประมาณร้อยละ 50 ของขยะทั้งหมด =3371 กก. (คาดว่าจะทำได้ ร้อยละ 100 เนื่องจากมีนโยบายถังขยะเปียกลดโลกร้อน 100%) ขยะทั่วไป ประมาณร้อยละ 10 ของขยะทั้งหมด =674 กก.(คาดว่าจะทำได้ ร้อยละ 2 นโยบายลดการใช้ขยะประเภทพลาสติกและขยะฟุ่มเฟือย 134 กก. )

6742.00 2022.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ 35 =878 หลัง จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2508 จำนวนครัวเรือนเดิมที่มีการคัดแยกขยะ 275 จำนวนครัวเรือนเป้าหมายใน 1 ปี ที่คัดแยกขยะ ( 878 - 275 = 603 ครัวเรือน)

10.96 35.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน เดิม 1 กลุ่ม (อถล.) เป้าหมาย หมู่บ้านละ 1 กลุ่ม x 13 หมู่บ้าน

1.00 13.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2508 ครัวเรือน สถานการณ์ครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้ง 574 ครัวเรือน เป้าหมาย 1 ปี ให้จำนวนครัวเรือนวัสดุอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้งเพิ่ม จำนวน 680 หลัง= 574+680 =1254 หลัง คิดเป็นร้อยละ 50

22.80 50.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

89.67 100.00
6 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2508 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่มีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูป 153 คิดเป็นร้อยละ 6.1 เป้าหมาย 1 ปี เพิ่มจำนวนครัวเรือนนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูป ร้อยละ 30 ของครัวเรือนทั้งหมดในตำบล(752ครัวเรือน)
= 752-153
= 599 ครัวเรือน

6.10 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 65
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เครือข่าย อถล.ระดับตำบล(จำป่าหวาย) เกี่ยวกับโครงการและแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ หมู่บ้านละ 5 คน 13 หมู่บ้าน ตัวแทนจากโรงเรียน และองค์กรแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 85 คน เป็นเวลา 1 วัน (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย 1 ) กำหนดการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่แกนนำเครือข่าย อถล.ระดับตำบล
(โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 29เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ อาคารสโมสรองค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลาหัวข้อ 08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน
- ประเมินผลก่อนอบรม 08.45 - 09.00 น. - เปิดอบรม โดย ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.จำป่าหวาย
09.00 – 10.00 น. - ความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.)
- ข้อมูลนำเข้า สถานการณ์แนวโน้มปัญหาขยะและสาเหตุของปัญหา โดย นางเนตรชนก วงศ์ใหญ่ นักวิชาการสาธารณสุข อบต.แม่ใส 10.00 – 11.00 น.- การบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน - การลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง ตามหลักการ 3Rs
โดย นางเนตรชนก วงศ์ใหญ่ นักวิชาการสาธารณสุข อบต.แม่ใส 11.00 – 12.00 น.- สาธิตการคัดแยกขยะตามประเภทโดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วม โดย ผู้ประกอบการร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. - แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาขยะของตำบลจำป่าหวาย และแนวทางแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะ โดย นางภัทรกุลไฝเครือ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทต.บ้านเหล่า 14.00 – 15.00 น. นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาฯแต่ละ จำนวน 4 กลุ่มๆละ 15 นาที โดย นางภัทรกุลไฝเครือ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทต.บ้านเหล่า 15.00 – 16.00 น.กำหนดแผนการรณรงค์ทำกิจกรรมลด คัดแยกขยะ โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ............................................................................................... หมายเหตุพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30-10.45และ 14.30-14.45 น. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 85 คน คนละ 50 บาท จำนวน ๑ มื้อเป็นเงิน4,250.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 85 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,250.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท เป็นเงิน2,500.- บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ๆละ 120 บาท เป็นเงิน 360.- บาท - ค่าวัสดุสาธิต( ถังขยะแยกตามประเภทและอุปกรณ์อื่น)เป็นเงิน4,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2567 ถึง 29 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครือข่าย อถล.ระดับตำบลจำป่าหวาย มีความรู้ความเข้าใจเเกี่ยวกับโครงการ 2.เครือข่าย อถล.ตำบลจำป่าหวายสามารถขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15360.00

กิจกรรมที่ 2 ทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำสื่อ ป้าย สปอต ประชาสัมพันธ์ (3,100)          - ค่าป้ายไวนิลกรอบไม้แบบตั้งขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 1.8 เมตรx 2ป้าย                ป้ายละ  800 บาท                                       เป็นเงิน  1,600.- บาท          - ค่าจ้างทำสปอต ประชาสัมพันธ์                                 เป็นเงิน  1,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2567 ถึง 29 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีสื่อโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ 2.ประชาชนเข้าถึงแหล่งความรู้ ข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะของอถล.ตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรม Roadshowธนาคารขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม Roadshowธนาคารขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”จำนวน 5ครั้ง (รายละเอียดตามไฟล์โครงการ) กิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 1 (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ โรงเรียนบ้านจำป่าหวาย หมู่ที่ 5 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลาหัวข้อ 08.30 - 09.00 น.- ลงทะเบียน จัดเตรียมบูท นิทรรศการ 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 1 โดย นายก อบต.จำป่าหวายกล่าวเปิด
09.00 – 11.00 น.- กิจกรรม Kick Off ธนาคารขยะรีไซเคิล
- ทำ MOU ความร่วมมือเกี่ยวการจัดการขยะในชุมชนพื้นที่ตำบลจำป่าหวาย
- ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนธนาคารขยะแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดย นายสวิงคล่องแคล่ว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ทต.บ้านต๋อม 11.00 – 12.00 น.- การสาธิตกระบวนการรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดย นายสวิงคล่องแคล่ว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ทต.บ้านต๋อมและอถล.ตำบลจำป่าหวาย 12.00- 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น.- การรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยอบต.ในพื้นที่ร่วมกับ อถล. โดย คณะทำงาน อถล. ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย 14.00 – 16.00 น. สรุปผลการดำเนินงาน Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”ครั้งที่ 1 โดย คณะทำงาน อถล. ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ......................................................................................................... กิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 2 (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 5เดือนมิถุนายน พ.ศ.2567 ณ วัดบุญเรือง หมู่ที่ 7 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลา หัวข้อ 08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน จัดเตรียมบูท นิทรรศการ 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 2 โดย นายก อบต.จำป่าหวายกล่าวเปิด
09.00 – 12.00 น.- กิจกรรม รับสมัคร สมาชิก ธนาคารขยะรีไซเคิล ครั้งที่ 2 - กิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิลโดย อถล.ร่วมกับ อบต.จำป่าหวาย
- กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนธนาคารขยะแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดย อถล. - กิจกรรมความรู้เกี่ยวกับการลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง โดย นายสวิงคล่องแคล่ว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ทต.บ้านต๋อมและอถล.ตำบลจำป่าหวาย 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. -การรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยอบต.ในพื้นที่ร่วมกับ อถล. โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวายร่วมกับ คณะทำงาน อถล. 14.00 – 16.00 น.สรุปผลการดำเนินงาน Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”ครั้งที่ 2 โดย คณะทำงานอถล.ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ............................................................................................... กิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 3 (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 5เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567 ณ วัดดอนมูล หมู่ที่ 2 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลา หัวข้อ 08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน จัดเตรียมบูท นิทรรศการ 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 3 โดย นายก อบต.จำป่าหวายกล่าวเปิด
09.00 – 12.00 น.- กิจกรรม รับสมัคร สมาชิก ธนาคารขยะรีไซเคิล ครั้งที่ 3 - กิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิลโดย อถล.ร่วมกับ อบต.จำป่าหวาย
- กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนธนาคารขยะแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดย อถล. - กิจกรรมความรู้เกี่ยวกับการลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง โดย อถล.ตำบลจำป่าหวาย 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. -การรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยอบต.ในพื้นที่ร่วมกับ อถล. โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวายร่วมกับ คณะทำงาน อถล. 14.00 – 16.00 น.สรุปผลการดำเนินงาน Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”ครั้งที่ 3 โดย คณะทำงานอถล.ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ...............................................................................................

กิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 4 (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 28เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567 ณ โรงเรียนบ้านจำป่าหวาย หมู่ที่ 5 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลา หัวข้อ 08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน จัดเตรียมบูท นิทรรศการ 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 4 โดย นายก อบต.จำป่าหวายกล่าวเปิด
09.00 – 12.00 น.- กิจกรรม รับสมัคร สมาชิก ธนาคารขยะรีไซเคิล ครั้งที่ 4 - กิจกรรมรับซื้อขยะรีไซเคิลโดย อถล.ร่วมกับ อบต.จำป่าหวาย
- กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนธนาคารขยะแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดย อถล. - กิจกรรมความรู้เกี่ยวกับการลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง โดย นายสวิงคล่องแคล่ว หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ทต.บ้านต๋อมและอถล.ตำบลจำป่าหวาย 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. -การรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยอบต.ในพื้นที่ร่วมกับ อถล. โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวายร่วมกับ คณะทำงาน อถล. 14.00 – 16.00 น.สรุปผลการดำเนินงาน Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”ครั้งที่ 4 โดย คณะทำงานอถล.ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ...............................................................................................

กิจกรรม Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 5 (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะเพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลจำป่าหวาย) วันที่ 12เดือน สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ วัดร่องเข็ม หมู่ที่ 6 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ---------------------------------------------------
เวลา หัวข้อ 08.30 - 09.00 น. - ลงทะเบียน จัดเตรียมบูท นิทรรศการ 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย” ครั้งที่ 5 โดย นายก อบต.จำป่าหวายกล่าวเปิด
09.00 – 12.00 น.- กิจกรรม รับสมัคร สมาชิก ธนาคารขยะรีไซเคิล ครั้งที่ 5 - กิจกรรมประกวดนวัตกรรมขยะรีไซเคิล โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวายและอถล.ตำบลจำป่าหวาย 12.00- 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. -การรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยอบต.ในพื้นที่ร่วมกับ อถล. โดย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวายร่วมกับ คณะทำงาน อถล. 14.00 – 16.00 น.สรุปผลการดำเนินงาน Roadshow“ธนาคารขยะรีไซเคิลตำบลจำป่าหวาย”ครั้งที่ 5 โดย คณะทำงานอถล.ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.จำป่าหวาย ...............................................................................................

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความสำคัญของการลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง ช่วยลดภาวะโลกร้อน
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และสมัครเข้าร่วมครัวเรือนที่มีกิจกรรมลด คัดแยกขยะที่ต้นทางเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อถล.

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อถล.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ อถล.เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะทำงานและภาคีเครือข่าย จำนวน 2 ครั้งๆละ 20 คน
และจัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการผ่าน Google ฟอร์ม (7,600)         - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน x 2 มื้อๆละ 50 บาท        เป็นเงิน  2,000.- บาท            -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนx 4 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,000.-บาท           -ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท x 2 วัน                 เป็นเงิน 3,600.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อถล.ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลความก้าวหน้าโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 2.เกิดบทเรียนการดำเนินงานโครงการนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล เป็นเงิน 4,750.-บาท - จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่อง ขนาดรับน้ำหนัก 60 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,500.- บาท - ค่าจัดทำสมุดธนาคารขยะรีไซเคิล จำนวน 150 เล่มๆละ 15 บาท เป็นเงิน 2,250.- บาท - ค่าซื้อถุง(Big Bag)และอื่นๆสำหรับรองรับขยะรีไซเคิล เป็นเงิน 1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตำบลจำป่าหวายมีกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปรายงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ โดยรวบรวมเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์จำนวน 2 เล่ม รายงานให้กองทุนสุขภาพตำบลทราบ งบประมาณ 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  รูปเล่มสรุปรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม
ผลลัพธ์  -

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 แกนนำ อถล.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างเหมาะสม
8.2 ครัวเรือนในชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมลด คัดแยกขยะที่ต้นทาง
8.3 ชุมชนมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน


>