กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา

-

ในเขตพื้นที่ตำบลบางเขา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ว่า หมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อชนิดใหม่ ๆ ที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะประมาณ ๒0 ปีที่ผ่านมาหรือโรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำหมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีดและสงบไปแล้วเป็นเวลานานหลายปีแต่กลับมาระบาดขึ้นอีก โรคติดเชื้อทั้งสองประเภทเกิดจากเชื้อ ๕ กลุ่ม คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิตเชื้อไวรัส และฟรีออน โรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคที่เรียและเชื้อไวรัส เช่น โรคอุจจาระร่วง ตาอักเสบ วัณโรคดื้อยา ไข้ไทฟอยด์ ดื้อยา โรคเท้าช้าง ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบ ผู้ที่เป็นโรคชื่อเดียวกันอาจได้รับเชื้อโรคต่างกัน เช่น โรคอุจจาระร่วง อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อCampylobacterjejuni หรือเกิดจากเชื้อไวรัส Rotavirus และจากเชื้ออีกหลาย ๆ ชนิด โรคติดเชื้อหลายโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมาหรือโรคติดเชื้อที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น ไข้เลือดออกหลายชนิด เราเรียกว่า “โรคติดเชื้ออุบัติใหม่” ส่วนโรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดแล้วหายไปแต่กลับมาระบาดใหม่ เช่น วัณโรค เรียกว่า “โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ” โรคติดเชื้อทั้งสองประเภทนั้นเกิดได้จากเชื้อโรค ๕ กลุ่ม คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิต เชื้อไวรัส และพรีออน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำมีมากมาย การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต เช่น การที่พ่อแม่ไปทำงานนอกบ้านและไม่มีคนเลี้ยงลูกจึงต้องนำลูกไปฝากเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กซึ่งมีเด็กอยู่กันเป็นจำนวนมาก ถ้าสถานรับเลี้ยงเด็กจัดสถานที่และอาหาร ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือดูแลเด็กไม่ดี อาจเกิดโรคอุจจาระร่วงและโรคติดเชื้อระบบหายใจ การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบๆ หรืออาหารดิบ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ปลาดิบ ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ การใช้ยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกันทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคเอดส์ เชื้อตับอักเสบบี การรักษาโรคต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะทำให้ติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย การใช้ยาไม่ถูกต้องหรือใช้ยาไม่ครบขนาคทำให้เชื้อดื้อยา ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ความแห้งแล้ง และความอดอยากทำให้สัตว์ป่าเข้าหมู่บ้านนำโรคไปสู่ชาวบ้าน น้ำท่วมนำโรคจากแหล่งที่มีโรคไปสู่แหล่งที่ไม่เคยมีโรคนั้น การเกิดฝุ่นPM2.5 ที่เป็นสาเหตุโรคต่าง ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องมีแกนนำค้านสุขภาพในการถ่ายถอดความรู้และนำไปปรับใช้ในชุมชน เพื่อป้องกันการระบาดในพื้นที่ และปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข งานรักษาความสะอาด งานควบคุมโรค และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข งานเฝ้าระวังโรค งานเผยเพร่ฝึกอบรม การให้สุขศึกษาการจัดทำงบประมาณตามแผนงานสาธารณสุข งานด้านสิ่งแวดล้อม
การให้บริหารสาธารณสุข และการดำเนินการตามพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗(๕) การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในชุมชน

 

50.00 80.00
2 เพื่อป้องกันโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา

 

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 3,500 บาท (2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 50 คน)
  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นเงิน 3,500 บาท (1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 50 คน)
  3. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คน คนๆละ 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 3.00x1.5 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน900 บาท
  5. ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 80 บาทเป็นเงิน4,000 บาท (ประกอบด้วย กระเป๋า สมุด และปากกา)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่นป้ายไวนิล ป้ายโฟมบอร์ด พัดพิมพ์ลาย เป็นต้น  เป็นเงิน   4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมได้ความรู้ในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในชุมชน
2. ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและรู้จักการป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำได้ด้วยตนเอง
3. ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อ โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติใหม่ในพื้นที่


>