กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อย ยิ้มสวย ใส่ใจฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่างทอง

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สุขภาพช่องปากเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิต การมีสุขภาพช่องปากที่ดี เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาสุขภาพอนามัย การอบรมเลี้ยงดูแลเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน จะส่งผลต่อการพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปจน ตลอดชีวิต ร่างกายจะ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงถือเป็นช่วงสำคัญของชีวิต เด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร ที่มีประโยชน์และหลากหลายในปริมาณสูง เมื่อเทียบกับขนาดกินอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะโรคฟันผุ และเหงือกอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก
ดังนั้นทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่องทอง จึงได้จัดทำ โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจฟันดี ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ครู และผู้ปกครองมีความรู้และทัศนคติที่ดีทางด้านทันตสุขภาพ ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากในเด็กเล็ก เป็นแบบอย่างที่ดีการปลูกฝัง และสร้างความคุ้นเคยในการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดียิ่งยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่างทองมีสุขภาพฟันที่ดี
  1. เด็กนักเรียนได้รับการส่งเสริมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ลดการเกิดโรคฟันผุในสุขภาพช่องปาก
0.00
2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน
  1. เด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่างทองได้รับการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน
0.00
3 3. เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเด็ก ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร มีความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพ และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และเด็กสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
  1. สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ โดยผ่านครูและผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมผู้ปกครองประชุมผู้ปกครอง ครู และบุคลากร ชี้แจงวัตถุประสงค์ของ การจัดทำโครงการ เพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรม และหาข้อตกลงร่วมกันในการกำหนด นโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมผู้ปกครองประชุมผู้ปกครอง ครู และบุคลากร ชี้แจงวัตถุประสงค์ของ การจัดทำโครงการ เพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรม และหาข้อตกลงร่วมกันในการกำหนด นโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมให้ความรู้ให้ความรู้กับเด็กผู้ปกครองครูและบุคลากร โดยการ จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปาก และเชิญเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านหาดไข่เต่า เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่ดีโดย

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมให้ความรู้ให้ความรู้กับเด็กผู้ปกครองครูและบุคลากร โดยการ จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปาก และเชิญเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านหาดไข่เต่า เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่ดีโดย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 576 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน3 ชั่วโมง เป็นเงิน1,800บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุด คนละ 25 บาทเป็นเงิน750บาท
  4. โมเดลฟันเพื่อสาธิตการแปรงฟันจำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,500 บาท เป็นเงิน3,000 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์จัดบอร์ดเรื่องการแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพช่างปาก เป็นเงิน 778 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6904.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ครูควบคุมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และบันทึกการแปรงฟันของเด็กนักเรียน พร้อมทั้งตรวจความสะอาดฟันหลังการแปรงฟันทุกครั้ง

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ครูควบคุมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และบันทึกการแปรงฟันของเด็กนักเรียน พร้อมทั้งตรวจความสะอาดฟันหลังการแปรงฟันทุกครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 24 ด้ามๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน720บาท
  2. ค่ายาสีฟัน จำนวน 24 หลอดๆ ละ 34 บาท เป็นเงิน816 บาท
  3. ค่าผ้าเช็ดหน้า จำนวน 24 ผืนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน600 บาท
  4. ค่าแก้วน้ำ จำนวน 24 ใบๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน600 บาท
  5. ค่าผ้าเช็ดมือ จำนวน 24 ผืนๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3096.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น และมีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น
2. นักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟันและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี่ที่เก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน
3. เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
4. นักเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดช่างทองมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น


>