2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เนื่องจากสังคมไทยมีประชากรวัยทำงานเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะงานที่แตกต่างกันไป ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่ ยุค 40 ซึ่งเป็นยุคสมัยใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีในการทำงานซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องใช้งานเป็นเวลานานและในปัจจุบันประชากรในวัยทำงานมีการจัดการท่าทางที่ไม่ถูกต้องและขาดการจัดการในการบริหารร่างกาย ก่อนการทำงาน ระหว่าการทำงาน และหลังการทำงาน ทำให้มีกรเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจึงทำให้มีการอักเสกของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่ทำงานแบใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะงานชนิดแบบพิมพ์งานบ่อยๆและในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมแบบก้มหน้าซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะใช้เวลาก้มหน้าในการเล่นโทรศัพท์มือถือในทุกๆเวลา เวลาย่ามว่าง ก่อนนอน และหลังจากตื่นนอนทำให้มีการทำงานของกล้ามเนื้อแบบซ้ำๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคกลุ่มเล่านี้เรียกว่า ออฟฟิต ซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อรักษา ป้องกันและฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย
เนื่องจากพนักงานออฟฟิศในพื้นที่ตำบลปะลุรูมีการทำงานแบบแบบยุคสมัยใหม่ ในองค์กร ทำให้มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นจำนวนมาก ซึ่งพบผู้ป่วยที่มารักษา โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ในโรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารร่างกายและวิธีการจัดการที่ถูกต้องเพี่อให้งานดำเนินต่อไปอย่างมีคุณภาพ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีปัญหา ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)มีการจัดการตัวเองที่ถูกต้อง
2. เพื่อป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 10/01/2024
กำหนดเสร็จ 29/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น
2.สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)มีการจัดการตัวเองที่ถูกต้อง
3.ป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)