กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำเข้มแข็ง ชุมชนปลอดภัย ห่างไกลวัณโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย

นางทิวาพรปิงเมืองและคณะ

ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต 1.90 ล้านคนในแต่ละปี การขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ ทุกประเภทประมาณ 92,300 คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 44,475 คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ 12,089 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ 17 กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าวัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคมากกว่าปีละ 10,000 รายปัญหาวัณโรคในแรงงานข้ามชาติ ที่ประมาณการว่ามีมากถึง 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราป่วยวัณโรคสูงกว่าไทย มีการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สถานการณ์วัณโรคในจังหวัดพะเยาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 – 2566 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 355 ราย, 337 ราย และ 331 ราย ตามลำดับ ซึ่งในปี 2564 – 2566 มีรายงานความครอบคลุมการคัดกรองวัณโรคจากกลุ่มเสี่ยง ปี 2566 ร้อยละ 92.15 ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในปีงบประมาณ 2564 - 2566 พบว่าผู้ป่วย วัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ มีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค(Success rate) ร้อยละ 80.56, ร้อยละ 71.59 และร้อยละ 79.17 ซึ่งได้ต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90ซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้คลอบคลุม เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย อีกทั้งป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานด้วย อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เป็นตัวแทนประชาชน ที่ถูกคัดเลือกให้ทำงานด้านสาธารณสุข ปัจจุบันได้รับการยอมรับจากส่วนต่างๆ ทั้งระดับประเทศ และในชุมชนเอง เป็นอย่างดี ซึ่งมีความคล่องตัวต่อการดำเนินงานปรับเงื่อนไขทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ให้เอื้อต่อการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อสม. นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง อสม. เป็นบุคคลที่อาศัยและทำงานในชุมชนประจำ มีระบบเครือญาติและระบบเครือข่ายทางสังคม ย่อมมีความคุ้นเคย เข้าใจสภาพปัญหาในชุมชน ทำให้รู้ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนตนเอง ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาวัณโรค ด้วยชุมชน และเพื่อชุมชนตนเองอสม. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การติดต่อความรุนแรงของโรค ที่ดีระดับหนึ่ง และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด คุ้นเคยกับชุมชน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆในชุมชน อย่างดีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม การระดมความคิดเห็นในการดำเนินงาน การร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดำเนินงาน การร่วมวางแผนดำเนินงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ อสม. ในพื้นที่มีความสามารถในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคปอดได้ด้วยชุมชนเอง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ต่อไป โดยตำบลจำป่าหวาย พบผู้ป่วยโรควัณโรคที่รักษาที่โรงพยาบาลพะเยาในปี 2564 – 2566 จำนวน 13 ราย 11 รายและ 9 รายตามลำดับ โดยพบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งกินยาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามแผนการรักษา เสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคดื้อยา เพื่อให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย เห็นควรมีกิจกรรมในโครงการแกนนำเข้มแข็ง ชุมชนปลอดภัย ห่างไกลวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้สร้างเครือข่ายแกนนำในการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อสร้างแกนนำในการคัดกรอง ดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชน
2.เพื่อให้อสม.และแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรคสามารถคัดกรองผู้ป่วยได้ถูกต้อง
3. เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและกลุ่มเสี่ยง
4. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรค เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบ มีพี่เลี้ยง (DOT) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย -ประชุมชี้แจงการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคปอดแก่อสม. -จัดทำแผนการตรวจคัดกรองโดยการ X-ray ปอดพร้อม

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย 2.มีแผนการตรวจคัดกรองวัณโรคโดยการ X-ray ปอดพร้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดยเจ้าหน้าที่รพ.สตจำป่าหวาย/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใช้แบบคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอด
2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 3.ดำเนินการส่งตรวจคัดกรองด้วยการ X-ray ปอด ร่วมกับโรงพยาบาลพะเยา

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มีนาคม 2567 ถึง 8 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรครายใหม่โดยเจ้าหน้าที่ และส่งต่อด้วยการ X-ray ปอดกรณีสงสัย 2.กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยและมีผลการคัดกรองผิดปกติเข้ารับส่งต่อและการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค 2.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อลดการพร่กระจายเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำเฝ้าระวังและดูแลวัณโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำเฝ้าระวังและดูแลวัณโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย -จัดเตรียมป้ายอบรม สื่อ วัสดุประกอบการอบรมให้พร้อม -จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำเฝ้าระวังและดูแลวัณโรคในชุมชน โดยจัดให้มีแกนนำในทุกหมู่บ้าน จำนวน 13 หมู่บ้าน จำนวน 65 คน ให้มีความรู้ ความสามารถในการคัดกรอง เฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชน งบประมาณ จำนวน 14,910.00 บาท รายละเอียด ดังนี้
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    เป็นเงิน 3,250.00 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    เป็นเงิน 3,250.00 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม    เป็นเงิน 1,950.00 บาท
  • ค่าวัสดุ  เป็นเงิน 325.00 บาท
  • ค่าวัสดุ  เป็นเงิน 975.00 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล  เป็นเงิน 360.00 บาท
  • ค่าป้ายเอ็กสแตนความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค  เป็นเงิน 3,000.00 บาท
  • ค่าสัมนาคุณวิทยากร    เป็นเงิน 1,800.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2567 ถึง 13 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแกนนำที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเฝ้าระวังและดูแลวัณโรคในชุมชน  จำนวน 65 คน 2.แกนนำสามารถการคัดกรอง เฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14910.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ 2.สรุปรายงานผลและคืนข้อมูลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สรุปรายงานผลการถอดบทเรียนและการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ -โครงการได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีแกนนำในการคัดกรอง ดูแลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชนทุกหมู่บ้าน
2. แกนนำมีความรู้ ความสามารถในการคัดกรองและดูแลกลุ่มเสี่ยงรวมถึงผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน
3. ผู้ป่วยวัณโรคและกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาตามระบบโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแกนนำ
4. มีอัตราการรักษาวัณโรคสำเร็จเพิ่มขึ้น
5. มีความร่วมมือของภาคี เครือข่ายในการดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคในชุมชน อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมวัณโรคที่ถูกต้อง


>