กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงหัว ห่วงใยลูกหลานรณรงค์เด็ก เยาวชนและประชาชนสวมหมวกนิรภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

โครงการห่วงหัว ห่วงใยลูกหลาน รณรงค์เด็กปฐมวัย สวมหมวกนิรภัย

๑.นางสาวปพิชญารุ่งเรือง
๒.นางอรวรรณหาญชนะ
๓.นางพัชรินทร์บุญพร
๔.นางมลัยลักษณ์จันทสิงห์
๕.นางพิสมัยบุญก่ำ
๖.นางสาวนิภาพรสายบัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542หมวด2การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตราที่ 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (9) การจัดการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรฐานที่ 9ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดโครงการ / กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางสมองตอบสนองความสนใจและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 10 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 มีการส่งเสริมคุณภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน มาตฐานที่ 13 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ที่ 13.4 มีวินัยมาตฐานที่ 19 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและจิตใจที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 19.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตขณะขับขี่ยานภาพหนะสองล้อ เช่น รถจักรยาน และจักยานยนต์ และการเสียชีวิตและบาดเจ็บส่วนใหญ่มาจาก อาการเจ็บที่ศีรษะซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บที่ ศีรษะและ ลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้ การส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ สวมหมวกนิรภัยมากขึ้นจึงเป็นวิธีการสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัย บนท้องถนนและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ศีรษะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงสุงที่จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือสียชีวิตจากการบาดเจ็บประเภทนี้ นอกจากนี้ผู้ขับขี่ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยยังเพิ่มภาระให้แก่โรงพยาบาลที่รับตัวเข้ารักษา เป็นภาระแก่บุคคล ครอบครัว (หรือผู้ดูแล) และสังคม หากต้องกลายเป็นคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือยจึงได้จัดทำโครงการห่วงหัวห่วงใยลูกหลาน รณรงค์เด็กปฐมวัย สวมหมวกนิรภัย ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนนโดยการสวมหมวกนิรภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนน
2. การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ได้ถ่ายทอดแนวความคิด ทัศนคติ และวิสัยทัศน์ในการสวมหมวกนิรภัย
3. เพื่อส่งเสริมสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 84
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/08/2024

กำหนดเสร็จ 09/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการฝึกอบรมตามโครงการรณรงค์เด็กไทยใส่หมวกกันน็อค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการฝึกอบรมตามโครงการรณรงค์เด็กไทยใส่หมวกกันน็อค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสงเปือย ติดต่อวิทยากรเพื่อบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เชิญผู้ปกครองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จัดกิจกรรมการฝึกอบรมตามโครงการรณรงค์เด็กไทยใส่หมวกกันน็อค ศพด.ในสังกัด อบต.สงเปือย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบประเมินก่อนการอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบประเมินหลังการอบรม รายงานผลการดำเนินการโครงการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 44 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,200บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 44 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อจำนวน 1มื้อ เป็นเงิน1,100บาท 3. ค่าค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน1,800 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน500 บาท 5. ค่าจัดซื้อวัสดุสาธิตหมวกนิรภัยเด็กแบบเครื่องใน จำนวน 10 ใบ ๆ 440 บาทเป็นเงิน4,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2567 ถึง 6 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้เด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนนและกระตุ้นให้ครูและผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการใส่หมวกนิรภัยให้กับ เด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมนโยบายรัฐในการรณรงค์ให้พื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางถนนด้วยการสวมหมวกนิรภัย 100% เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์ แข็งแรง มีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้านอย่างเหมาะสม ตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิดทัศนคติ และวิสัยทัศน์ที่ดีในการสวมหมวกนิรภัย
3. ผู้เข้าร่วมโครงการ/เด็กเล็กมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุ


>