กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและส่งเสริมสุขภาพการเคลื่อนไหวขาไถหนูน้อยเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งหวาย

๑.นางสาวปพิชญารุ่งเรือง
๒.นางอรวรรณหาญชนะ
๓.นางพัชรินทร์บุญพร
๔.นางมลัยลักษณ์จันทสิงห์
๕.นางพิสมัยบุญก่ำ
๖. นางสาวนิภาพรสายบัว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุ่งหวาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

 

93.55

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้สนับสนุนการวิจัยในโครงการพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเพื่อหาค่าเกณฑ์มาตรฐานการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่สุ่มตัวอย่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบว่า เด็กไทยวัย2 - 6 ปี มีคะแนนพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร โดยรวมล่าช้ากว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยไปจนถึงล่าช้ามาก ประมาณเกือบ 30% นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กวัย 2 - 6 ปีที่เริ่มมีปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยจนถึงมีปัญหาอย่างชัดเจน มีมากกว่า 30% เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร จะสัมพันธ์ความยากลำบากในการควบคุมกำกับตนเอง หุนหันพลันแล่น ใจร้อน รอคอยไม่เป็น สมาธิสั้น วอกแวกง่าย และในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อการเรียน การทำงาน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมการคิดเชิงบริหารมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช เช่น โรคซน สมาธิสั้น ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า ประพฤติผิดปกติ-เกเรอันธพาล เป็นต้น
นโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจ อารมณ์มีความ เบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ เคารพกฎ ระเบียบ กติกาด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ Balance Bike เพราะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทุกด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง เป็นการฝึกการทรงตัว รวมทั้งช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี และเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสงเปือย จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย

ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

93.55 96.77

1. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมวัย มีกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่แข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี
2. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านจิตใจ อารมณ์สมวัย มีความเบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ เคารพกฎ ระเบียบ กติกา
3. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารสมวัย มีสมาธิสามารถควบคุม กำกับ ตนเองได้สมวัย
4. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านสมวัย พร้อมเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/07/2024

กำหนดเสร็จ 26/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดแสดงนิทรรศการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดแสดงนิทรรศการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดแสดงนิทรรศการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยความร่วมมือของหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และภาคประชาชน มีการจัดแสดงและนำสื่อต่างๆ ให้ความรู้ ความเข้าใจเพื่อกระตุ้นความสนใจ ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งในด้านระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมอง ให้มีความสัมพันธ์กัน รวมไปถึงการฝึกสมาธิและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความแข็งแรงด้านร่างกายและจิตใจให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีและสมวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 17 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญต่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก ในด้านต่างๆ ทำให้เกิดการสร้างกิจกรรมและความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บรรยายโดยวิทยากร
เรื่องพัฒนาการตามวัยเด็ก 0–6 ป เรื่องการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0–6 ปี
เรื่องการประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น เรื่องความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 0–6 ปี รายละเอียดงบประมาณการจัดกิจกรรม ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน   2,500  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ    จำนวน 1  มื้อ เป็นเงิน  1,250  บาท - ค่าค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  1,800 บาท รวม 5,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2567 ถึง 18 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ครูผู้ดูและเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจด้านพัฒนาการทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และด้านการคิดเชิงบริหารสมวัย และสามารนำองค์ความรู้ประเมิน คัดกรองพัฒนาการเด็กในเบื่องต้นได้ พร้อมทั้งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก 0-6 ปี ตลอดสัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก 0-6 ปี ตลอดสัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำแบบสอบถามสำรวจกลุ่มเป้าหมาย เรื่องพัฒนาการตามวัย / การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก /การประเมินพัฒนาการเด็ก /ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก สุ่มตรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีสภาวะเสี่ยง พัฒนาการผิดปกติ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รายงานผลการประเมินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2567 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0-6 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย เด็ก 0-6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก  มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-6

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดหาอุปกรณ์การเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการจักรยานขาไถประจำที่ศูนย์เด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์การเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการจักรยานขาไถประจำที่ศูนย์เด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาอุปกรณ์การเรียนรู้จักรยานขาไถ โดย คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน เลือกวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก แข็งแรง และมีคุณภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกายและสามารถบูรณาการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมวัย มีกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่แข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี
2. เด็กมีพัฒนาการทางด้านจิตใจ อารมณ์สมวัย มีความเบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้รู้จักชนะ เคารพกฎ ระเบียบ กติกา
3. เด็กมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารสมวัย มีสมาธิสามารถควบคุม กำกับ ตนเองได้สมวัย
4. ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีคุณภาพสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
5. เด็กมีพัฒนาการทุกด้านสมวัย พร้อมเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น


>