กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เทศบาลตำบลลานข่อยมีพื้นที่ในความรับผิดชอบ จำนวน 9 หมู่บ้าน (ข้อมูลจากงานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลลานข่อยและทะเบียนการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลลานข่อย) พบว่าในปีงบประมาณ 2564 เทศบาลตำบลลานข่อยมีประชากรรวมทั้งหมด 8,655 คน มีผู้สูงอายุ รวม 1,138 คน คิดเป็นร้อยละ 13.15 ของประชากรทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ 60 -69 ปี จำนวน 644 คน คิดเป็นร้อยละ 56.59 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ70 – 79 ปี จำนวน 334 คน คิดเป็นร้อยละ 29.34 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 80 – 89 ปี จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 12.21 และผู้สูงอายุที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด และข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลลานข่อย ของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลานข่อย ในปี 2563 พบว่า มีผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จำนวน 32 คน
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลลานข่อยเพิ่มขึ้นทุกปี การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ควรพัฒนาสุขภาพในด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ การพัฒนาด้านสังคม อันได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ได้แก่ การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ การศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ คือ ผู้สูงอายุในพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง มีปัญหาทั้งด้านสุขภาพจิต และสุขภาพกาย เกิดภาวะพิการในกลุ่มผู้สูงอายุและขาดการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประกอบกับนโยบายของคณะผู้บริหาร ซึ่งต้องการที่จะแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุและต้องอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) ของเทศบาลตำบลลานข่อยตามแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561 – 2565 ได้กำหนดไว้ว่า “เกษตรพัฒนา ผ้าทอลือเลื่อง เมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พัฒนาคุณภาพชีวิต” พร้อมทั้งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 มาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (6)ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (8) บำรุงศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ รายได้ที่เหมาะกับศักยภาพ พึ่งพาตนเองได้มากขึ้นจากนวัตกรรม ได้รับการดูแลอย่างมีศักดิ์ศรี เข้าถึงทุนและโอกาสทางเศรษฐกิจ “คนไทยใฝ่ดี มีวินัย สร้างสรรค์นวัตกรรม พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” หลักการสำคัญคือ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ยึดวิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทย ปี 2579 ยึดหลักการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำ บนพื้นฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ยึดการปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างจริงจัง การดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในพื้นที่ให้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี การจัดกิจกรรมที่เป็นเหมือนสวนสาธารณะทางอารมณ์ ที่จะเอาความเหงา ความเศร้า ความทุกข์มาปลดปล่อยและให้ผู้สูงอายุมารับรอยยิ้มจากเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งบางครั้งผู้สูงอายุต้องการกำลังใจ ต้องการความอบอุ่น ต้องการพูดคุย จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว เทศบาลตำบลลานข่อยจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลานข่อย ประจำปี 2564 เพื่อดำเนินโครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมได้ร่วมพูดคุยและมีกำลังใจ สร้างความรัก ความสามัคคี ความสัมพันธ์ที่มีระหว่าง ผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันมในสังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข
3.เพื่อส่งเสริมให้มีการ ดำเนินกิจกรรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การ ส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>