กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีระบาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

กองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย

1.นายสุนันท์นามมั่น
2.นางวาสนาถูกธรรม
3.นางสาวปพิชญารุ่งเรือง
4.นางสาวรัตนาภรณ์วุฒิสังข์
5.นายศิริศักดิ์มีชัย

หมู่ที่ 1-9 ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ได้รับแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือยตั้งแต่วันที่ 1-16กรกฎาคม 2566พบผู้ป่วยไข้เลือดออกตามการวินิจฉัยทุกประเภท จำนวน 5รายโดยพบผู้ป่วยจำแนกรายหมู่บ้าน ในหมู่ที่ 1บ้านสงเปือยจำนวน 2 ราย บ้านบุ่งหวายหมู่ที่ 9จำนวน1ราย บ้านโคกสะอาด หมู่ที่ 5จำนวน2ราย จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกของตำบลสงเปือยยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงจำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและการมีทรัพยากรในการควบคุมโรคอย่างเพียงพอ องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือยจึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกรณีระบาด ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้การควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างต่อเนื่องสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-ความร่วมมือของประชาชนกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
-ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินมาตรฐาน
2.เพื่อควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้งโดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
-ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในการควบคุมโรค
-ความทันเวลาในการพ่นเคมี
-ความสำเร็จในการควบคุมโรค
3.เพื่อเป็นการลดอัตราการสูญเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,402
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อนัดหมายวันเวลา และวิธีการออกปฏิบัติงานการออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวชุมชนพร้อมทั้งสื่อต่าง ๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้นำชุมชนและ อสม.เข้าใจวิธีการปฏิบัติงานในการออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับโครงการฯ วันเวลาที่จะดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจลูกน้ำยุงลายตามชุมชน และออกฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจลูกน้ำยุงลายตามชุมชน และออกฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้นำชุมชน และ อสม. ออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามชุมชน และออกฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในหมู่บ้าน ทั้ง 9 หมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1ป้าย เป็นเงิน500บาท 2.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเบนซิน(เติมเครื่องฉีดพ่นหมอกควัน)เป็นเงิน3,145 บาท
3.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดดีเซล (ใช้ผสมกับสารเคมีพ่นกำจัดยุงลาย)เป็นเงิน8,910 บาท 4.ค่าสเปรย์ฉีดยุง ขนาด 300 มล. กระป๋องละ 55 บาท 48 กระป๋องเป็นเงิน2,640 บาท 5.ค่าน้ำดื่มกิจกรรมรณรงค์ฯ เป็นเงิน1,705 บาท 6.ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ เป็นเงิน8,100 บาท (จำนวน 3 คนๆละ 300 บาท/วันเป็นเวลา 9 วัน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และกำจัดยุงลายในพื้นที่ชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้นำชุมชน และอสม.ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2566 ถึง 28 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ทราบถึงผลการดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ว่าสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาและสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสงเปือยที่มีอย่างต่อเนื่องได้
2.ความมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในการควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลสงเปือย
3.ไม่พบการสูญเสียระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก


>