กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคู

ตำบลคู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนที่มีความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว

 

3.00

"การตั้งครรภ์" หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกาย วัย ภาวะ ด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้นๆ แต่ถ้าหากเกิด ขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น "เด็กหญิง" ซึ่งมีอายุระหว่าง ๙ - ๑๙ ปีก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัว เด็กเอง และครอบครัว และประเทศชาติ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีน คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐ – ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคู ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ ความเข่้าใจ ในเรื่องการวางแผนครอบครัว เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น

 

3.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท จำนวน 60 คน รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  3. ค่าเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ 60 ชุด ๆ ละ 4 บาท รวมเป็นเงิน 240 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์ในการสาธิต เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท (ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย จำนวน 3 กล่อง ๆ ละ 500 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท, ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 135 บาท เป็นจำนวนเงิน 270 บาท, ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด จำนวน 1 แผง ๆ ละ 230 บาท เป็นจำนวนเงิน 230 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกราการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกัยเรื่องเพศ
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม


>