กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและเพศวิถี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

โรงเรียนบ้านสงเปือย

1.นายอุทาน สิงห์ครุธ
2.นางขนิษฐาพิจารณ์
3.นางพิสมัยจักรไชย
4.นางสาวกัลยา ผารัตน์
5.นางสาวศศิธรวิรุณพันธ์

โรงเรียนบ้านสงเปือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมากเพราะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น เด็กบางคนมีอิสระในการใช้ชีวิต สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คือการตั้งครรภ์ที่ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายยังไม่ในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายทำให้เกิดความพร้อม ทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก และส่วนมากยังเป็นนักเรียนอยู่ เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ อาจจะต้องออกจากโรงเรียน บางคนตัดสินใจด้วยการทำแท้งซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดทางศีลธรรมอย่างมาก การทำแท้งจะส่งผลกระทบจิตใจต่อผู้ทำและยังส่งผลเสียต่อด้านร่างกายอีกด้วยดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโรงเรียนบ้านสงเปือย จึงได้จัดกิจกรรมฐานความรู้ โครงการการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและเพศวิถี ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันองค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย เพื่อจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม ตลอดจนการสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและให้มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะด้านเพศศึกษาให้มีทักษะการใช้ชีวิตเพื่อเป็นเกาะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน
2. เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
3. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและให้มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
4. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะด้านเพศศึกษา
5. เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการใช้ชีวิตเพื่อเป็นเกาะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 109
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ ครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ ครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงรายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการแก่ ครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครองเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและเพศวิถี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและเพศวิถี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและเพศวิถี                - คัดกรองผู้ร่วมอบรมพร้อมล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าอบรม
               - กิจกรรมฐานความรู้                - ให้ความรู้และวิธีปฏิบัติรอบรู้ การใช้โซเชียลอย่างปลอดภัย                - กิจกรรมถอดบทเรียน                -กิจกรรมถามตอบ ค่าใช้จ่ายดังนี้ ๑. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ เป็นเงิน   ๒,๐๐๐   บาท ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๓๐ คนๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน   ๓,๒๕๐  บาท ๓. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๔๒ คนๆ ละ ๕๐ บาท  เป็นเงิน   ๒,๑๐๐   บาท ๔. ค่าวัสดุอุปกรณ์ จัดกิจกรรมฐาน เป็นเงิน   ๒,๖๕๐   บาท รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านสงเปือย มีความรู้ และตระหนักถึงการป้องกันตนเองให้ห่างจากโรคติดติดต่อ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ
  2. นักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านสงเปือย สามารถทำเจลแอลกอฮอล์อย่างง่ายใช้เองได้  ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  แบบทดสอบก่อน - หลังฝึกอบรม 2.  แบบสังเกตพฤติกรรม 3. แบบสำรวจความพึงพอใจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถนำผลการประมินไปพัฒนาแนวทางในการจัดทำโครงการในปีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน
2. กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม
3. มีความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
4. เด็กและเยาวชนได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะด้านเพศศึกษา
5. เด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีทักษะการใช้ชีวิตเพื่อเป็นเกาะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร


>