กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารพืชผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ดังนั้นพืชผักสวนครัวจึงเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารที่ให้ทั้งแร่ธาตุ และวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายให้ผลผลิตตลอดทั้งปี และเนื่องจากปัจจุบันได้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจส่งผลกระทบทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร เห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียนจึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญโดยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาแจกจ่ายให้เด็กเพื่อนำไปประกอบอาหารที่บ้านหรือนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเด็กนักเรียน
ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเอง และพัฒนาอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้บริโภคผักปลอดสารพิษ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในวัยเด็ก
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าในในวิธีปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันในอนาคตได้
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกผักและปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้บริโภคผักปลอดสารพิษ

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
  1. เด็กและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้น้อมนำปรัชญาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน
0.00
4 4. เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีแหล่งเรียนรู้ให้เด็กเล็ก ชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ศึกษา

 

0.00
5 5. เพื่อให้เด็กรู้จักคิด สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว มีความอดทน รับผิดชอบต่อหน้าที่

 

0.00
6 6. เพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยได้น้อมนำปรัชญาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมการประชุม 1.1 ประชุมครู บุคลากร และผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมการประชุม 1.1 ประชุมครู บุคลากร และผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมขั้นดำเนินการ กิจกรรมปลูกผักสวนครัว - สำรวจบริเวณที่จะปลูกผักปลอกสารพิษ - เตรียมสถานที่เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้ดูเหมาะสมและสะดวกในการปลูก - ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกและดูแลรักษา - จัดหาเตรียมดิน เพื่อเตรียมเพาะปลูก - จัดหาปุ๋ยคอก เพื่อนำมาผ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมขั้นดำเนินการ กิจกรรมปลูกผักสวนครัว - สำรวจบริเวณที่จะปลูกผักปลอกสารพิษ - เตรียมสถานที่เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้ดูเหมาะสมและสะดวกในการปลูก - ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกและดูแลรักษา - จัดหาเตรียมดิน เพื่อเตรียมเพาะปลูก - จัดหาปุ๋ยคอก เพื่อนำมาผ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมค่าวัสดุอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมค่าวัสดุอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. หน้าดินสำหรับปลูกผัก จำนวน 1 คันๆละ 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
  2. ปุ๋ยคอกจำนวน 40 กระสอบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  3. สายยางขนาด ¾ นิ้ว ความยาว 20 เมตร จำนวน 1 เส้น   เป็นเงิน 710 บาท
  4. บัวรดน้ำขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 3 ใบๆละ 60 บาท เป็นเงิน 180 บาท
  5. จอบ จำนวน 4 ด้ามๆละ 355 บ. เป็นเงิน 1,420 บาท
  6. ช้อนปลูกผักจำนวน 8 อันๆละ 50 บ. เป็นเงิน 400 บาท
  7. เมล็ดพันธ์ผัก ชนิดต่างๆจำนวน 30 ซองๆละ 24 บ. เป็นเงิน 720 บาท
  8. ต้นกล้า จำนวน 70 ต้นๆละ 5 บ. เป็นเงิน 350 บาท
  9. อิฐบล็อก 663 ก้อนๆละ 8 บ. เป็นเงิน 5,344 บาท
  10. ท่อ PVC ขนาด (1/2นิ้ว) PVC 8.5 จำนวน 8 เส้นๆ 50 บ. เป็นเงิน 400 บาท
  11. ค่าป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม. เป็นเงิน 576 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษและมีคุณค่าทางโภชนาการ
3. เสริมสร้างสุขนิสัยที่ดี อาหารดีมีประโยชน์ครบตามหลักโภชนาการ
4. มีแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กด้านการเกษตรผสมผสานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


>