กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บ้านไอสะเตียร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กลุ่มจิตอาสาตำบลบูกิต

1 น.ส รอกีเยาะ สาเมาะ
2 นาง สะปิเย๊าะ ดอเลาะ
3 นาย มะอูเซ็ง มามะ
4 นางสาว นูรูฟาร่า ยะโกะ
5นางสาว สูรียานา มะซาลี

ตาดีกาดารุลอามาน(ไอสะเตียร์)ม.5,8,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นวัยที่ต้องการ เรียนรู้ อยากลอง ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ

 

0.00

ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อประเทศ "ส่งผลกระทบอย่างวงกว้าง ทั้งต่อบุคคลและสังคมส่วนรวม เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นวัยที่ต้องการ เรียนรู้ อยากลอง ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ จะต้องดำเนินการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและการรู้โทษภัยยาเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักหลีกเลียงสิ่งเสพติด และที่สำคัญคือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน ทางจิตอาสาตำบลบูกิตเล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดทำ โครงการอบรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บ้านไอสะเตียร์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดและด้านป้องกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กนักเรียนและเยาวชน ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและโทษภัยของยาเสพติด

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้ รับทราบ ถึงปัญหาและโทษภัยของยาเสพติด ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อปลุกจิตสำนึกของเด็กนักเรียนและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อย ๕๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้ โทษภัยยาเสพติดและด้านการป้องกัน2.กิจกรรมนันทนาการเสริมทักษะให้เยาวชน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้ โทษภัยยาเสพติดและด้านการป้องกัน2.กิจกรรมนันทนาการเสริมทักษะให้เยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

*ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท. ต่อ 1 ชั่วโมง 6 ชม. = 3600 บาท
*ค่าป้ายไวนิล 1.2 เมตร x 2.4 เมตร = 720 บาท *ค่าอาหารกลางวัน คนละ 50 บาท × 60 คน(1 มื้อ) = 3000 บาท
*ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท × 60 คน (2 มื้อ) = 3000 บาท

*ค่าวัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษซาลาเปา 100 บาท
2. ปากกาเมจิก เท่งละ 20 บาท x 10 เท่ง = 200 บาท
3. กาวสองหน้า 20 บาท x 10 อัน= 200 บาท 4. กระเป๋าผ้า ผืนละ 65 บาท x 50 คน = 3,250 บาท
5. ถุงดำ 2 แพ็ค = 120 บาท 6. แป้งฝุ่น กระป๋องละ 55 x 3 กระป๋อง =165 บาท 7.ลูกโป๋ง แผงละ 25 บาท x 2 แผง= 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14405.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,405.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโทษภัยยาเสพติดและด้านการป้องกัน
2. เยาวชนมีจิตสำนึก มีความรู้ความเข้าใจภัยยาเสพติด
3. กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้
4. เยาวชนสามารถให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อนในเรื่องโทษภัยยาเสพติด และด้านการป้องกัน


>