กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชน ม.6 คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6

1.นางจิระวรรณรัตนบุญโน (ประธาน)
2.นางหฤทัยฉิมเพ็ช
3.นางอรอนงค์จันทร์ทอง
4.สุจินต์แก้วอำไพ

ศาลาประชาคมหมู่ที่ 6 ตำบลสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

80.00

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโถคอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด โรคอ้วน โรคเรื้อรังดังกล่าวต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลและเกิดความยั่งยืนได้จำเป็นต้องอาศัยพลังของประชาชนเป็นรากฐาน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เน้นชุมชนเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากผลการคัดกรองของ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 ในปีงบประมาณ 2566ที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน282คนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 253คน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองจำนวน80 คน
ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.6 จึงตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ ชุมชน ม.6 คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2567 เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองที่มีคุณภาพนำไปสู่การสุขภาวะที่ดี และเป็นการกระตุ้นเตือนประชาชนให้เกิดความตระหนักและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

60.00 10.00
2 เพื่อให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ60 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิต

60.00 10.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดและรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ร้อยละ60 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดและรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

60.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/06/2024

กำหนดเสร็จ 25/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม คัดกรองสุขภาพ 1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน2,500 บาท 2. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน1,500 บาท 3. ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 80 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับการคัดกรองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน xมื้อๆละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000บาท 2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คน x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,000 บาท 3. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 120X240 ซม.จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน720 บาท 4. ค่าวัสดุโครงการ เป็นเงิน 5,200 บาท - ปากกาจำนวน 80 ด้าม ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท - สมุด จำนวน 80 เล่ม เล่มละ 10 บาทเป็นเงิน 800 บาท - ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 80 ใบ ใบละ 50 บาท เป็นเงิน 4000 บาท 5. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x ชั่วโมง ละ 600 บาท x จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิต
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดและรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้


>