กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุลากง

1. นายมูฮัมมัดสุปรีอารง
2. นางสาวฮาซีพะห์ลาเต๊ะ
3. นางสาวมารียานาอีแต
4. นางสาวรอฮานีหะยีเจ๊ะเล๊าะ
5. นางสาวยาวาเฮมะมิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่มมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ตำบลปุลากงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ของทุกปี ชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ขุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความรวดเร็วทันท่วงที ประกอบกับสภาพภูมิอาการที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วัน จาก ๗ วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น หากไม่มีการป้องกันโรคแต่เนินๆ
จากพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีอนุกรมเวลาพบว่า ปี พ.ศ.2566 ประเทศไทยจะมีการระบาดทั้งปีประมาณ 95,500 คน โดยจะพบผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และอาจสูงถึง 10,000 -16,000 ราย ต่อเดือน
ดังนั้นเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดและเพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุมของโรคไข้เลือดออก ดังกล่าวทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุลากงจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generetion 2

ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่เกิน Generetion 2

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 33
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงฟื้นฟูความรู้ แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงฟื้นฟูความรู้ แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 35 คน X 2 มื้อๆ ละ 30 บาท X 1 วัน
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คนๆละ 60 บาท1 มื้อ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำมัน ดีเซล
    • ค่าน้ำมัน เบนซิล
  • น้ำยาพ่นยุงขนาดบรรจุ 1 ลิตร 3 ขวดๆละ 1,700 บาท
  • สเปรย์ฉีดยุง ขนาด 300 มล. จำนวน 30 กระป๋องๆ ละ 75 บาท
    • โลชั่นทากันยุงแบบซอง 200 ซองๆละ 7 บาท
  • ค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฎิบัติพ่นหมอกควันในหมู่บ้าน จำนวน 2 คน คนละ400 บาทต่อ 1 ครั้ง ต่อหมู่บ้าน ทั้งหมด 4 หมู่บ้านๆละ 2 ครั้ง
  • ค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฎิบัติพ่นหมอกควันในโรงเรียน 1 โรง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์จำนวน 2 คนๆละ 250 บาทต่อ 1 ครั้ง พ่นจำนวน2 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>