กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพ หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด (ภายใต้โครงการตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด (ภายใต้โครงการตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น

ตำบลแป้น

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส
ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต โดย 270 วันอยู่ในท้องแม่ ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ดังนั้นการตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆเกิดขึ้นมากกว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่น ๆ ของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอื่น ๆ ถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้ามารดากินอาหารที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอมักทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้น การฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มีความสำคัญกับหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
จากการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น ปีงบประมาณ 2566 พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 44.44 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 82.69 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 75ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 16.67 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 83.33
เพื่อยกระดับคุณภาพงานบริการสาธารณสุขคลินิกฝากครรภ์ (ANC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และมารดาหลังคลอดทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น จึงได้จัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด (ภายใต้โครงการตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน)” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
2.เพื่อลดจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
5. เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการดูแล 3 ครั้งตามเกณฑ์
6. เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. แกนนำสุขภาพในชุมชนเพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้สามารถประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และติดตามกลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านต่อไป

ชื่อกิจกรรม
1. แกนนำสุขภาพในชุมชนเพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้สามารถประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และติดตามกลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 33 คนเป็นเงิน 1,650 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 33 คนเป็นเงิน 1,650 บาท
  • ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 33 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,650 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อส่งเสริมให้ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อส่งเสริมให้ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อส่งเสริมให้ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก
- การคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโภชนาการ/ภาวะโลหิตจางหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์

งบประมาณ - ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คนเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คนเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 80 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวัสดุสำนักงาน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

กิจกรรมที่ 3 3. ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อติดตามภาวะเสี่ยงหลังคลอดและส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
3. ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อติดตามภาวะเสี่ยงหลังคลอดและส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25 คนๆ ละ 3 ครั้งๆ ละ 50 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>