กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

รพ.สต.ปุลากง

ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.สุไรดา ดาราแม็ง

ตำบลปุลากง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

5.00
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

5.00

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผุ้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15- 35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิจของการทำงานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพหรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ.2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อับดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยุ่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต เช่น ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว ชุมชน หากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ ทั้งนี้ข้อมูลรายงานปัญหาสุขภาพจิตของพื้นที่ตำบลปุลากง พบว่า มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสะสม 26 ราย มีผู้ป่วยวินิจฉัยโรคทางจิตเวชเนื่องจากยาเสพติด จำนวน 13 ราย มีเด็กอายุ 0- 15 ปี ที่ตรวจพบความพิการทางสติปัญญาหรือบกพร่องการเรียนรู้ จำนวน 21 รายและมีกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 32 ราย
ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว ชุมชนที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน การจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ และการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาวุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่นการให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพแก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในที่ทำงานเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองพัฒนาการเพื่อค้นหา ช่วยเหลือเด็ก 0-5 ปีที่มีพัฒนาการล่าช้าและส่งต่อกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมการคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลทางสังคมจิตใจผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากงได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวจึงจัดทำ โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

5.00 3.00
2 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

10.00 3.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

5.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ปัยหาของสุขภาพจิตเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ตำบลปุลากง 6.เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  6. ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการดังนี้
    7.1 จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้หัวข้อ “ปัญหาสังคมเปลี่ยนไว ใส่ใจตรวจพัฒนาการของลูกน้อย ”
    7.2จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้หัวข้อ เรื่องของสารเสพติด 7.3จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้หัวข้อ เรื่องปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช ในทุกช่วงวัย ทั้งในวัยเด็ก 0-5 ปี วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ 7.4จัดกิจกรรมแนะนำช่องทางการบริการสายด่วนสุขภาพจิต และพรบ.สุขภาพจิต
    7.5จัดกิจกรรม แลกเปลี่ยน เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด
  7. ประเมินผลโครงการและสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและกองทุนตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 9.รายละเอียดงบประมาณ- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 1 คน x 5 ชั่วโมง x 1 วัน = 3,000 บาท

- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 200 คน = 12,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 200 คน x 2 มื้อ = 14,000บาท - ค่าวัสดุไวนิลชื่อโครงการ= 1,500 บาท
รวมงบประมาณ 30,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. และประชาชนในชุมชนตำบลปุลากงสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตนเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลปุลากง สามารถนำความรู้ไปปฎิบัติใช้กับตนเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี


>