กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1.นางชนิศา ไชยประดิษฐ
2.นางมยุราเบญจมามาศ

- ห้องประชุมโรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172- ห้องประชุมโรงเรียนบ้านมือบา - ห้องประชุมโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก เพราะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น เด็กบางคนมีอิสระในการใช้ชีวิต สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คือการตั้งครรภ์ที่ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายยังไม่พร้อมในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายทำให้เกิดความพร้อม ทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก และส่วนมากยังเป็นนักเรียนอยู่ เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ อาจจะต้องออกจากโรงเรียน บางคนตัดสินใจด้วยการทำแท้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนรู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 230
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/06/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อุปกรณ์ในการจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
อุปกรณ์ในการจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ปากกาเคมี ๒ หัว แท่งละ ๑๐ บาท จำนวน 2๐ แท่งเป็นเงิน 2๐๐บาท
  • กระดาษโปสเตอร์ ชนิดแข็ง แผ่นละ 12 บาท จำนวน 10 แผ่น เป็นเงิน 1๒0 บาท
  • เชือกขาวแดง ราคาม้วนละ 50 บาท จำนวน 5 ม้วนเป็นเงิน 25oบาท
  • ค่ากระดาษถ่ายเอกสารขนาดเอ4จำนวน 2 รีมๆละ 125 บาทเป็นเงิน250บาท
  • สมุดปกอ่อนเล่มละ 10 บาท จำนวน230 เล่มเป็นเงิน 2,300 บาท
  • ปากกาแท่งละ 10 บาท จำนวน230 แท่ง เป็นเงิน 2,300บาท
  • แฟ้มพลาสติกใสกระดุม จำนวน 230แฟ้มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 2,300บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน ๑ แผ่นๆละ 750 บาท
    เป็นเงิน 750บาท
    รวมเป็นเงิน 8,470 บาท
  1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ “ท้อง” คุณพร้อมหรือยัง ? จำนวน 4 รุ่น รุ่นที่ 1 ผู้เข้าร่วมอบรมการให้ความรู้ “ท้อง” คุณพร้อมหรือยัง ?
    • นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ โรงเรียนบ้านตือระฯ จำนวน61 คน
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 10 คนจำนวน71 คน
      จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน4,970 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
      จำนวน 1 มื้อๆละ80 บาท เป็นเงิน 800บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาท x 1 วัน เป็นเงิน 3,6๐๐บาท รวมเป็นเงิน 9,370 บาท

รุ่นที่ 2 ผู้เข้าร่วมอบรมการให้ความรู้ “ท้อง” คุณพร้อมหรือยัง ? - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5-๖ โรงเรียนบ้านมือบาจำนวน 46 คน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 10 คน จำนวน 56 คน
จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,920 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๓,6๐๐ บาท รวมเป็นเงิน8,320 บาท

รุ่นที่ 3 ผู้เข้าร่วมอบรมการให้ความรู้ “ท้อง” คุณพร้อมหรือยัง ? - นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5-๖ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามาจำนวน 51 คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 10 คนจำนวน 61 คน
จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 4,270 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
จำนวน 1 มื้อๆละ80 บาท เป็นเงิน800บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๓,6๐๐ บาท รวมเป็นเงิน8,670 บาท

รุ่นที่ 4 ผู้เข้าร่วมอบรมการให้ความรู้ “ท้อง” คุณพร้อมหรือยัง ? - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านตือระ จำนวน 72 คน
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 10 คนจำนวน 82 คน
จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,560 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 10 คนจำนวน 82 คน
จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 5,740 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาทเป็นเงิน 800 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๓,6๐๐ บาท รวมเป็นเงิน16,700 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 51,530 บาท (ห้าหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยสามสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านตือระฯ  โรงเรียนบ้านมือบาและโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซา มีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันตนเองจากสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
             2. สามารถสร้างความตระหนักให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  โรงเรียนบ้านตือระฯ  โรงเรียนบ้านมือบาและโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซา  รู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51530.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,530.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านตือระฯโรงเรียนบ้านมือบาและโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซา มีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันตนเองจากสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
2. สามารถสร้างความตระหนักให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-๖ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3โรงเรียนบ้านตือระฯโรงเรียนบ้านมือบาและโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซารู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


>