กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในช่องปากและฟัน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศาไชยประดิษฐ
2.นางมารีดาฮัจญีหมัดสกุล

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส- หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ หมู่ 2, 4, 5, 8ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพฟันในกลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุ นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน เป็นวัยที่ชอบเล่น ชอบกินอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ อาหารจุบจิบ และไม่ชอบให้ผู้ปกครองจับมาแปรงฟัน จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0-3 ปีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปาเสมัส ที่เข้ารับการรับการตรวจฟัน ปี 2565 พบว่าเด็กอายุ 0-3 ปีมีฟันผุเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 74.13 ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้การที่เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทันตสุขภาพ และได้รับการป้องกันโรคฟันผุอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้เด็กมีฟันเคี้ยวอาหาร มีพัฒนาการสมวัย และอีกหนึ่งกลุ่มวัยผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก เนื่องจากอัตราการเกิดที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เนื่องจากโรคที่เกิดในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสำคัญกับการลุกลามของโรค เช่น โรคปริทันต์กับเบาหวาน ปัญหาการสูญเสียฟันกับโรคท้องผูก ทำให้ต้องมีการส่งเสริมสุขภาพในวัยนี้ด้วย รวมถึงคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยผู้สูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกาย ก็จะเสื่อมสภาพตาม รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย
ดังนั้นเพื่อสุขภาวะช่องปากที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ทางกลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัสได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบและต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในช่องปากและฟัน ปี 2567เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดูแล สุขภพช่องปากที่ดี ทั้งเด็กและผู้สูงวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกแปรงสีฟันและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุมีแปรงสีฟัน และเลือกวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก ที่ถูกต้อง

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 0-3 ปี

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กอายุ ๐-๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลงจากเดิม

0.00
4 เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๓ ปี ที่มารับบริการในคลินิกเด็กดีได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ๘๐ ของเด็กอายุ ๐-๓ ปีที่มารับบริการในคลินิกเด็กดีได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/06/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆละ 6๐๐ บาท      เป็นเงิน   1,800  บาท
  • ค่าสัมมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 คน x 3 ชั่วโมงๆละ ๔๐๐ บาท        เป็นเงิน   6,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง
      จำนวน 60 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 35 บาท                                 เป็นเงิน   4,200  บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง
      จำนวน 60 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท                                                  เป็นเงิน  4,800  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
      ขนาด ๑ x ๒ เมตร จำนวน ๑ ผืนๆ ละ 500 บาท                         เป็นเงิน      ๕๐๐  บาท
  • แปรงสีฟันสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5๐ ด้ามๆละ 30 บาท                                  เป็นเงิน   1,500  บาท
  • ยาสีฟันสำหรับสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 50 กล่องๆละ 30 บาท            เป็นเงิน    1,500 บาท

                 รวมเป็นเงิน 20,300 บาท
    
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ๒. ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟัน และเข้าถึงการรับบริการทันตกรรม ๓. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ๐-๓ ปีลดลง ๔. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี (คลินิกสุขภาพเด็กดี)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี (คลินิกสุขภาพเด็กดี)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  แปรงสีฟันสำหรับเด็ก 6 เดือน - ๓ ปี จำนวน 300 ด้ามๆ ละ 30 บาท       เป็นเงิน    9,000  บาท -  ยาสีฟันสำหรับเด็กขนาด ๔๐ กรัม จำนวน 300 กล่องๆ ละ 30 บาท     เป็นเงิน    9,000  บาท -  ฟลูออไรด์วานิช ขนาด 10 มิลลิกรัม จำนวน ๕ หลอดๆ ละ 2,000 บาท   เป็นเงิน    10,000  บาท -  พู่กันทาฟลูอไรด์ จำนวน 3 กระปุกๆละ 110 บาท                             เป็นเงิน        330 บาท
-  ถุงนิ้วผ้าสำหรับเช็ดเหงือก จำนวน 100 ชิ้นๆละ 15 บาท                   เป็นเงิน    1,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ๒. ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟัน และเข้าถึงการรับบริการทันตกรรม ๓. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ๐-๓ ปีลดลง ๔. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29830.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,130.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
๒. ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟัน และเข้าถึงการรับบริการทันตกรรม
๓. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ๐-๓ ปีลดลง
๔. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน


>