กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน หมู่5

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.5 บ้านลาเมาะใน

1. นางสาวกามีลา เจ๊ะโวะ
2. นายกิริยา ตะมะละ
3. นายอับดุลลาซิ มามะ
4. นางบือราเฮง โตะหลู
5. นางสาวคอลีเย๊าะ แวกาจิ

ม.5 บ้านลาเมาะใน ตำบลรือเสาะออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานหิตสูง โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง และไขมันอุดตันในเส้นเลือดผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ โรคดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังที่ไม่เหมาะสม จากการสอบถามข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พบว่า มีการออกกำลังกายน้อย โดยคิดว่าการประกอบอาชีพ เช่น ทำนา ทำสวน ถือว่าเป็นการออกกำลังกายแล้ว และบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนถือเป็นการจัดปัจจัยเอื้อที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ซึ่งจะเ็นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี
ได้สำรวจสำรวจค่าดัชนีมวลกายประชาชนอายุ 19-59 ปี ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 จากรากฐานข้อมูลระบบคลังสุขภาพ HDC (Health Data Center) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร จำนวน 984 มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 23 - 25 จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 17.58 ระดับ 1 จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 27.64 ระดับ 2 จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 11.08 ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกายของประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปราถนา เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพ และส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน ประจำปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกิจกกรรมการออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก แก่ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน BMI 25

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีค่า BMI ในระดับที่อ้วนมากและ อ้วน และเริ่มอ้วน ให้มีระดับ BMI ลดลง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถเลือกบริโภคอาหารและควบคุมน้ำหนัก ถอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ

ประชาชนทั่วไป ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถเลือกบริโภคอาหารและควบคุมน้ำหนัก ถอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนักและสาธิตอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนักและสาธิตอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 50 บาท x 1 มื้อ/วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 2 มื้อ/วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
  3. ค่าวิทยากร ชั่วโทงละ 600 บาท/ชั่วโมง จำนวน 5 ชั่วโมง 3,000 บาท
  4. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่น เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 7,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและการควบคุมน้ำหนัก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและการควบคุมน้ำหนัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
  2. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท/ชั่วโมง จำนวน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 2,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการบริโภคการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดการเจ็บป่วยลง และมีความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้รักสามัคคีเป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชน


>