กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง (CKD ) ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง ปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโลกรวมถึงประเทศไทย โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ และนำไปสู่การเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายและจำเป็นที่จะต้องมีการฟอกไต แต่คนเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยโรคไตวายส่วนใหญ่มาจากสาเหตุโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม การรับประทานยาต่างๆ และการรับประทานอาหารเป็นต้น
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปี 2566 จะพบผู้ป่วยไตวายรายใหม่จำนวน11คน คิดเป็นร้อยละ3.65จากทั้งหมด 305 คนและพบว่าเขต รพ.สต.บ้านไอสะเตียกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน194 คนพบเป็นไตวายระยะสุดท้าย6คนคิดเป็นร้อยละ 3.09มีจำนวน3คนที่ต้องทำการฟอกไต(ข้อมูลจากHDC ปี 2566)เพื่อเป็นการลดการเกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย จึงต้องสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรังผู้ป่วยไตวายระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจาโรคไตวาย ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสม ช่วยยืดระยะเวลาโรคไต และผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มขึ้น จึงจะสามารถ ลดการเกิดโรคไตวายได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียจึงเล็งเห็นความสำคัญของโรคไตวาย จึงได้จัดทำโครงการโครงการสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง(CKD)ปี 2567 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้น  ร้อยละ80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน

2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 30

80.00 30.00
3 เพื่อลดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รายใหม่

3.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รายใหม่ ลดลง ร้อยละ 5

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ครั้ง ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม  50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน  3,000  บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน  2,500  บาท ค่าป้ายไวนิลรณรงค์โครงการ  ขนาด 1x3 เมตร  เป็นเงิน  750  บาท ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 ตน  600  บาท X 6 ชม.  เป็นเงิน  3,600  บาท ค่าวัสดุสำนักงาน
ปากกา 50 ด้าม x 5 บาท   เป็นเงิน  250  บาท สมุด 50 เล่ม  x 20 บาท    เป็นเงิน  1,000  บาท กระเป๋า 50 ใบ x 80 บาท   เป็นเงิน  4,000  บาท รวมเป็นเงิน  15,100    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 70

ผลลัพธ์
1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน 2.ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังรายใหม่ ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง  จำนวน 1 ครั้ง    - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม  จำนวน 50 คน X 25 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน  1,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผผลิต  ( Output ) 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผลลัพธ์  ( Outแนทำ ) 1..ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน 2. ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง  รายใหม่ ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน
3.ผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังรายใหม่ ลดลง


>