กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชน ตำบลบ้านกาศ ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชน ตำบลบ้านกาศ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ

นางสุภาภรณ์จักรเงิน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือโรควิถีชีวิต ที่เป็นปัญหาสำคัญทาง สาธารณสุขของประเทศ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพทำให้ เกิดการเจ็บป่วยความพิการการสูญเสียสุขภาวะคุณภาพชีวิตและตายก่อน วัยอันควรจำนวนมากเป็นภาระการดูแลรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายทั้งของ ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่อาการของโรคที่รุนแรงขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ซึ่งส่วนสำคัญในการจัดการปัญหาสุขภาพดังคือ รูปแบบการให้บริการของสถานบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการโรคไม่ติดต่อให้มีคุณภาพ มีการดำเนินงานที่ครอบคลุมเข้าถึงผู้รับบริการ ตลอดจนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่ออีกด้วย
ในพื้นที่ตำบลบ้านกาศ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 232 ราย เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาในคลินิกบริการ รพ.สต.บ้านกาศ จำนวน 99 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 435 ราย เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาในคลินิกบริการ รพ.สต.บ้านกาศ จำนวน 180 ราย ซึ่งจากการดำเนินงานในคลินิกบริการโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้สูงถึง62 คน (ร้อยละ 62.62) สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกบริการของ รพ.สต.บ้านกาศพบไม่สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ 134 คน (ร้อยละ 74.44 ) และพบมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง 12 ราย โรคไตวานเรื้อรัง 23 ราย มีภาวะแทรกซ้อนทางตา 5 รายซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นับเป็นปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่สำคัญ เพราะหากผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จะมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่าง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคหัวใจ โรคต้อกระจก ตลอดจนการติดเชื้อจากบาดแผลถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการหรือการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกาศ เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการ สร้างทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน,โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านกาศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน

 

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง

 

80.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม

 

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 9.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง “การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง”ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
9.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง “การจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง”ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน    เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันคนละ 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 40 คน        เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ชั่วโมง      เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่ม เอกสารความรู้ เล่มละ 25 บาท จำนวน 40 เล่ม    เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำ ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการป้ายละ 450 บาทจำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 450 บาท 9.2 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน    เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันคนละ 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 40 คน        เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ชั่วโมง      เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร เล่มละ 150 บาท จำนวน 2 เล่ม      เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
  2. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสามารถควบระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง
2. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสามารถควบระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้


>