กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนคุรุชนพัฒนา (การแปรรูปสมุนไพรการทำลูกประคบ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

โรงเรียนคุรุชนพัฒนา

โรงเรียนคุรุชนพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลเปาะเส้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การนำสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งแง่การนำมารับประทานเป็นอาหาร และเป็นยารักษาโรคเวลาเกิดอาการเจ็บป่วย

 

50.00

การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ระบุถึงการใช้พืชพรรณสมุนไพรตั้งแต่สมัยพุทธกาล การนำสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งในแง่การนำมารับประทานเป็นอาหาร เช่น การรับประทานพืชผัก หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังนำมาใช้ เป็นยารักษาโรคเวลาเกิดอาการเจ็บป่วย การใช้ลูกประคบสมุนไพรก็เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่คนไทยเรานำมาใช้กันตั้งแต่รุ่นปู่ย่าของเรา บางท่านเคยมีประสบการณ์การใช้ลูกประคบสมุนไพรอยู่บ้าง แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบถึงรายละเอียดในเรื่องผล การรักษา วิธีการใช้ อาการที่เหมาะกับการใช้ลูกประคบสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย ซึ่งจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และปัจจุบันประชาชนโดยส่วนใหญ่นั้นให้การดูแลเอาใจใส่ทางด้านสุขภาพมากขึ้น ต้องการดูแลเอาใจใส่ ส่งเสริม และป้องกันภัยจากโรคภัยต่าง ๆดังนั้น โรงเรียนคุรุชนพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนคุรุชนพัฒนา (การแปรรูปสมุนไพรการทำลูกประคบ) ให้ความรู้แก่นักเรยนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้และรู้จักการนำสมุนไพรพื้นบ้านนำมาใช้ทำเป็นลูกประคบในการช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง หรือผู้อื่น เบื้องต้นได้ตามศักยภาพของบุคคลและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และรู้จักใช้สมุนไพรพื้นบ้านได้อย่างถูกต้องกับโรคแต่ละชนิดและสามารถทำลูกประคบสมุนไพรใช้ด้วยตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้ดูแลสุขภาพตนเอง หรือผู้อื่น ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อให้ช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนคุรุชนพัฒนา (การแปรรูปสมุนไพร การทำลูกประคบ)

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนคุรุชนพัฒนา (การแปรรูปสมุนไพร การทำลูกประคบ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติตามขั้นตอน
    1. แต่งตั้งคณะทำงาน
    2. ดำเนินโครงการ โดย 3.1 จัดอบรมให้ความรู้ 3.2 ฝึกทำลูกประคบ 4.  รายงานผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้งจำนวน15,000 บาทรายละเอียดดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 มื้อ x 50 คน x ๒๕ บาท)2,500บาท
2.ค่าวิทยากร(4 ชม. ๆละ1,200)4,800บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์
-พิมเสน1กก.X1,200บาท 1,200บาท
-การบูร1กกx800บาท
-เมนทอล1กกx2,000บาท 800บาท
2,000บาท
-ไพลสด20กก x 35บาท 700บาท
-ขมิ้นชันสด15กก 300บาท
-ขมิ้นอ้อย5กก 125บาท
-ผ้าดิบ2พับ 1,600บาท
-ด้านดิบ30ม้วน 450บาท
-ถุงบรรจุภัณฑ์ 525บาท
รวม 15,000บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 นักเรียนมีความรู้เรื่องสมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขั้น
8.2 นักเรียนมีความรู้และอนุรักษ์สมุนไพรเพิ่มมากยิ่งขึ้น
8.3 นักเรียนมีการวางแผนต่อยอดการแปรรูปสมุนไพรเป็นรายได้ให้กับครอบครัว


>