กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปฐมวัยปลอดภัยไว้ก่อน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงเรียนอนุบาลประจำตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็ก แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสอนให้เด็กรู้จักปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสถานการณ์อันตราย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวเด็กเอง เนื่องด้วยกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กที่ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่บาดเจ็บได้ง่าย และเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากสถานการณ์อันตรายได้ อีกทั้งเด็กในวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย
"ความปลอดภัยเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ (safety right is a fundamental human right) เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลเพื่อให้เติบโต เล่น มีพัฒนาการที่ดีในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยย่างเสมอภาคกัน เป็นหน้าที่ของรัฐ ผู้ปกครอง และทุกส่วนของสังคมจะต้องร่วมรับผิดชอบในสิทธิและความเสมอภาคนั้น" (อ้างอิงจาก โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก : เด็กกับความปลอดภัย, รศ นพ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์)
ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๒ การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใดให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และ มาตรา ๖๓ โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคมและความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษาตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังและพึงให้เกิดกับบุคคลอันเป็นที่รักและสถานที่ที่ตนเองอยู่ รวมทั้งการดำรงการไม่เสี่ยงภัย มีความมั่นใจในการประกอบกิจกรรมต่างๆ และมีการเตรียมป้องกันไว้ล่วงหน้าอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลประจำตำบลลุโบะสาวอ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับเด็กปฐมวัย และเพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในการเอาตัวรอดต่อสถานการณ์ต่างที่เกี่ยวข้องได้ จึงได้จัดทำ "โครงการปฐมวัยปลอดภัยไว้ก่อน" นี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในมาตรการป้องกันความปลอดภัยเด็กปฐมวัย

จำนวนร้อยละของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันตนให้เกิดความปลอดภัย

0.00 90.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและการปฏิบัติในการเอาตัวรอดตามเหตุการณ์จำลองที่เกิดขึ้น

จำนวนร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทักษะและปฏิบัติการเอาตัวรอดตามเหตุการณ์จำลองที่เกิดขึ้น

0.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 151
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะและปฏิบัติการเอาตัวรอดตามเหตุการณ์จำลอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะและปฏิบัติการเอาตัวรอดตามเหตุการณ์จำลอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แบ่งกลุ่มเด็กปฐมวัยตามจำนวนห้องเรียน
  • แล้วให้แต่ละกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เวียนไปตามฐานที่กำหนด ประกอบด้วย
  • ฐานที่ ๑ กิจกรรมจำลองกรณีเด็กติดในรถยนต์
  • ฐานที่ ๒ กิจกรรมจำลองกรณีเด็กถูกไฟช็อต
  • ฐานที่ ๓ กิจกรรมจำลองกรณีไฟไหม้
  • ฐานที่ ๔ กิจกรรมจำลองการมีวินัยจราจรและการสวมหมวกนิรภัย
  • ฐานที่ ๕ กิจกรรมจำลองกรณีเด็กจมน้ำ (อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในมาตรการป้องกันความปลอดภัยเด็กปฐมวัย
2.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและการปฏิบัติในการเอาตัวรอดตามเหตุการณ์จำลองที่เกิดขึ้น


>