กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

ประธาน อสม.

นางสาวตูแวยามีละห์ ไซดอุเซ็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2564 - ปี 2565 (ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 19 มกราคม 2564) พบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในพื้นที่ พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด (585 ราย) 142.57 ต่อแสนประชากร , (297 ราย) 133.66 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปี 2563 - ปี 2564 (ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564-19 มกราคม 2565) พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด (26 ราย) 54.61 ต่อแสนประชากรตามลำดับ และในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 19 มกราคม 2565 พบว่า ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มกราคม 2564) เนื่องจากชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสำรวจลูกน้ำยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพัันธ์ุลูกน้ำยุงลายในแต่ละแวกบ้านของตนเองทุกเดือนอย่างต่อเนื่องทำให้ในชุมชตำบลเกาะเปาะยังไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก แต่ก็ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้าน หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5 - 14 ปี) และวัยรุ่นตอนต้น (15 - 24 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้น) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45 - 54 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก 3 -4 เท่า เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรังทำให้เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย ที่รักษาได้ยาก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ส่วนมากเมื่อป่่วยมักซื้อยารับประทานเองหรือไปฉีดยาลดไข้ที่คลินิก ทำให้ไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุของไข้ ที่โรงพยาบาลแต่เนิ่นๆ จึงได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครื่อข่ายมีส่วนร่วม ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2567 โดยดำเนินการ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ควบคุมยุงพาหะ กำจัดแหล่งพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไม่พบลูกน้ำยุงลายในทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาด พ่นสารเคมีทำลายยุงในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน โดยต้องเป็น ULV เท่านั้น และต้องพ่นสารเคมี 4 ครั้ง ในวันที่ 0, 1, 3 และ 7 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณใกล้เคียงโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะเปาะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ 70 ลดอัตราป่วยโรคไข้าเลือดออก

20.00 10.00
2 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

2.ร้อยละ 30 ลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 44
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน มัสยิด และในโรงเรียนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน มัสยิด และในโรงเรียนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 66 คน x 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 66 คน X 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
-ค่าวิทยากรในการอบรม วันละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
            รวมเป็นเงิน  8,400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ มีดังนี้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ มีดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าพ่นหมอกควัน (สำหรับแกนนำชุมชนที่พ่นหมอกควัน) 250 บาท x 10 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดเบนซิน เป็นเงิน 1,000 บาท ชนิดดีเซล เป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท
-ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุงลาย (น้ำยาสารเคมี) จำนวน 5 ลิตร ๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
-ค่าจัดซื้อทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายอะเบท) 1% Sg. ขนาด 50 กรัม บรรจุซองพลาสติก 1 ถัง ๆ ละ 500 ซอง ราคาถังละ 5,000 บาท x 1 ถัง เป็นเงิน 5,000 บาท
              รวมเป็นเงิน  22,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก


>