กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ

นายอาดือนันสาและ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ

ในชุมชนตำบลมะนังดาลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการศึกษาระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกพบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ 1 มกราคม – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยันกลุ่มไข้เลือดออกโดย รง.506จำนวน 131,647 คิดเป็นอัตราป่วย 202.15 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต 148 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.23 และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.11 อัตราป่วยต่อแสนประชากรแสนคนของกลุ่มอายุที่สูงสุดได้แก่ 5-14 ปี (506.54) รองลงมาได้แก่ 15-24ปี (387.94) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระยอง(628.07) , เพชรบุรี (570.40),ราชบุรี (496.85),อุทัยธานี (465.22)และนครราชสีมา(465.22),(กรมควบคุมโรค, สำนักระบาดวิทยา, 2566) และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ข้อมูลสถิติผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกระดับประเทศ พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 28,232 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 43.83 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต 29 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.10
ซึ่งสถิติผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 533 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 86.96 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตพบผู้ป่วยผู้หญิงมากว่าเพศชาย โดยพบเพศหญิงร้อยละ 51.27 เพศชายร้อยละ 48.73 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี
อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอยะรัง 99 ราย(126.07) รองลงมาคือ อำเภอโคกโพธิ์ 86 ราย(145.75)และอำเภอเมืองปัตตานี 81 ราย (70.72) ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอสายบุรีตั้งแต่ 1 มกราคม – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จัดอยู่ในอันดับที่ 6 ของจังหวัด มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 47 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 74.07ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 11 -15 ปี จำนวน 14 ราย รองลงมา คือ 6 – 10 ปี จำนวน 10 ราย ตามลำดับซึ่งตำบลมะนังดาลำ นับว่าเป็นตำบลหนึ่งที่ประสบปัญหาในลำดับต้นๆ ของอำเภอ พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสมจำนวน 6 ราย คิดอัตราป่วย 269.26 ต่อประชากรแสนคน และไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตแต่อย่างใด (ศูนย์ระบาดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสายบุรี, 2567)
ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ค่าใช้จ่ายในการรักษา และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรหาทางแก้ไข ควบคุม และป้องกันอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและควบคุมโรคไข้เลือดออก ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการแนวทางการดำเนินงานกลุ่มเป้าหมาย 70 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครู ฉก.ในพื้นที่ 2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับ จนท.สาธารณสุขในพื้นที่ ,อสม.,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,อบต. ครู ฉก.ในพื้นที่ เกี่ยวพิษภัยของโรคไข้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการแนวทางการดำเนินงานกลุ่มเป้าหมาย 70 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครู ฉก.ในพื้นที่ 2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับ จนท.สาธารณสุขในพื้นที่ ,อสม.,ผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา,อบต. ครู ฉก.ในพื้นที่ เกี่ยวพิษภัยของโรคไข้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทุกองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและ
ร่วมมือกันดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังต่อเนื่อง
2.สามารถป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือมีอัตราป่วยไม่เกิน 40 ต่อแสน
ประชากร


>