กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองแบบ HPV Self Sampling DNA

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังดาลำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ

นายอาดือนันสาและ ผอ.รพ.สต.มะนังดาลำ

ในชุมชนตำบลมะนังดาลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลกในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ ๑๔0,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๘0,000 คนต่อปี พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม ซึ่งโรคที่พบบ่อยที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยโรคมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีนั้น หลายโรคกว่าจะตรวจพบหรือรอให้มีอาการ บางรายอาจมีการกระจ่ายของโรคไปแล้วโอกาสการรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหาการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้
จากการดำเนินงานคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ อำเภอสายบุรีมีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด๑,๓๑๑ ราย ตรวจด้วยตนเอง ๑,๒๔๑ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๖๖ พบความผิดปกติ ๑๑ ราย และการดำเนินงานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ มีผู้ลงทะเบียน ๖๗ ราย ตรวจด้วยตนเอง ๖๗ ราย คิดเป็นร้อยละร้อย พบความผิดปกติ ๑ ราย และได้รับการแก้ไข ซึ่งในปี 256๗ จะเน้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองแบบ HPV Self Sampling DNA เป้าหมายการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ กลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทั้งหมด ๘๕๕ ราย เป้าหมายที่ต้องคัดกรอง ๑๒0 ราย ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗0
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังดาลำ จึงเล็งเห็นว่า การจัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ กลุ่มสตรีอายุ ๓0-๖0 ปี จึงมีความสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดความเชี่ยวชาญในการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง เพื่อค้นพบและสามารถรับรู้ระยะเริ่มต้นของอาการป่วยได้ทัน และมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ แก่กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี เกี่ยวโรคมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจแบบ HPV Self Sampling DNA

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ แก่กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี เกี่ยวโรคมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจแบบ HPV Self Sampling DNA
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการในชุมชนให้แก่ภาคีเครือข่าย สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และนัดวัน เวลาดำเนินโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการ แก่กลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ 30-60 ปี
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ กิจกรรมกอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
แก่กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี
เกี่ยวโรคมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจแบบ HPV Self Sampling DNA
โดยให้ปฏิบัติด้วยตนเองพร้อมส่งตรวจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนหญิงอายุ 30–60 ปี มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองอย่าง เหมาะสม และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
    1. สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้           3. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30 - 60ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องทุกราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16990.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,990.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>