กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่องกาศ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัย “พลัดตก หก ล้ม” สู่การส่งเสริมดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่องกาศ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่องกาศ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

7.00
2 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

7.00
3 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

 

8.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุและเฝ้าระวังการพลัดตกหกล้มจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและป้องกันการเจ็บป่วยการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะดี ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่องกาศ

มีความรอบรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนในชุมชน

50.00 100.00
2 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

7.00 0.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

7.00 3.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

8.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,050
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกัน ส่งเสริมทักษะในการสื่อสารดูแลกลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิตหรือกลุ่มป่วยสุขภาพจิตที่บ้านและญาติผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกัน ส่งเสริมทักษะในการสื่อสารดูแลกลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิตหรือกลุ่มป่วยสุขภาพจิตที่บ้านและญาติผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จำนวน .........26,660......... บาท รายละเอียด ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการทักษะการสื่อสารในกลุ่ม แกนนำหมอครอบครัว (หมอคนที่ 1)เพื่อคัดกรองกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ ติดตามกลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิตในละแวกของตนเอง พร้อมให้คำแนะนำและเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน จำนวน 98 คน งบประมาณ    11,410 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วม 98 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท    เป็นเงิน 6,860 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วม 98 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,450 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (BGS) การคัดกรองกลุ่ม Geriatric Syndromer และประเมินสมรรถนะความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (แบบประเมิน ADL) ชุดๆละ 2 บาท จำนวน 1,050 ชุด                                 เป็นเงิน 2,100 บาท

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำผู้สูงอายุ สู่ความรอบรู้เรื่องสุขภาพสู่การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์ การป้องกันการพลัดตกหกล้มในกลุ่มผู้สูงอายุและความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันอย่างถูกวิธีในกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 50 คน      งบประมาณ 9,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วม 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท    เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วม 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชม.ๆละ 600 บาท          เป็นเงิน 3,000 บาท

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกัน ส่งเสริมทักษะในการสื่อสารดูแลกลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิตหรือกลุ่มป่วยสุขภาพจิตที่บ้านและญาติผู้ป่วย จำนวน  30 คน
                                      งบประมาณ 5,250 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วม 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท          เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วม 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท       เป็นเงิน    750 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชม.ๆละ 600 บาท                       เป็นเงิน 2,400 บาท

กิจกรรมที่ 4 ประชุมพัฒนาความรู้ทีมสุขภาพติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง Palliative care จำนวน 40 คน
    งบประมาณ   1,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วม 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท        เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

10.1 อสม.มีทักษะการสื่อสารเพื่อติดตามเชิงรุกในชุมชนและสามารถถ่ายทอดความรู้ ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วน 10.2 ครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและมีความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพกายและจิตใจที่เหมาะสม 10.3 ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม 10.4 ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่องปากได้ดีขึ้นและ kenkobi ได้ถูกต้อง 10.5 เพื่อให้การดำเนินงานสามารถขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง 10.6 ลดปัญหาการฆ่าตัวตายและภาวะซึมเศร้าของประชาชนในชุมชน 10.7 กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมีความรอบรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันตนเองและไม่มีปัญหาสุขภาพจิต 10.8 มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม 10.9 ทีมพัฒนาสุขภาพสามารถติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง Palliative careและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงวัยเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะดี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


>