กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการภาคีเครือข่ายใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลปิยามุมัง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง

1. นส.รุสนานี เจะเลาะ
2. นางพรเพ็ญ อินจันทร์
3. นส.นาซีเราะห์ สือแต
4. นส.ฆูซัยมะ ดามิ
5. นางฮายาตี นิฮะ

ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชได้รับยาไม่ต่อเนื่อง

 

50.00

โรคจิตเภท (Schizophrenia) หรือจิตเวช คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติ ของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และอาจมีอาการกำเริบถึง ร้อยละ 50 -70 ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดูแลค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชนั้น เกิดจากการรับประทานยาจิตเวชไม่ต่อเนื่อง อาจเนื่องมาจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยาดังกล่าว เช่น ลิ้นแข็ง ง่วงนอน เป็นต้น อีกทั้งญาติขาดความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการกำเริบขึ้นได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ มีผู้ป่วยจิตเวช (วันที่ 1 ตุลาคม 2566) จำนวน 42 ราย รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจำนวน 15 ราย มีอาการกำเริบซ้ำที่ต้องเข้ารับการรักษาบ่อยครั้ง จำนวน 5 ราย จากการหาสาเหตุพบว่าอาการกำเริบซ้ำมาจากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง รับประทานยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมรับประทานยาเนื่องจากผลข้างเคียงของยา ญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวช ได้รับการดูแลจากเครือข่ายในชุมชนของตนเอง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปวยจิตเวชได้รับยาอย่างเนื่องและลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ

ร้อยละของผู้ป่วยได้รับยาจิตเวชและรับประทานอย่างต่อเนื่องลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ

50.00 100.00
2 เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

จำนวนของการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

0.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

ร้อยละของผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

40.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วย 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
งบประมาณ
- ค่าวิยากรในการอบรม 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าเอกสารและอุปกรณ์สำหรับผู้เข้ารับอบรม 20 คนๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กรกฎาคม 2567 ถึง 9 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยจิตเวชในความดูแลได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

กิจกรรมที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดตั้งกลุ่มภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยให้มีตัวแทนจากผู้นำต่างๆ ในชุมชน
  2. การออกเยี่ยมเยือนให้กำลังใจแก่สมาชิกในกลุ่ม คนละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกลุ่มภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของตำบลปิยามุมัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของสมาชิก
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กันยายน 2567 ถึง 24 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางและรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของตำบลปิยามุมัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ
2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ และลดภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยลง
3. ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม
4. เกิดเครือข่าย ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง


>