กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย 1000 วันครรภ์ คุณภาพ สู่พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.6 บ้านคลองขุด

1.นายศักดิ์ อักษร
2.นางปาตีเม๊าะ หมานหมีน
3.นางฝาตีเม๊าะ อักษร
4.นางเจ๊ะรอม๊ะ หลีสุวรรณ
5.นางดวงพร รอดเซ็น

หมู่ที่ 6 บ้านคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตังครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

40.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

60.00
3 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด

 

12.80

การฝากครรภ์เป็นจุดเริมต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริมตังแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตังครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมาย หลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่งจุดเริ่มต้นที่สําคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิง ตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตังครรภ์ได้ตังแต่เริ่มตังครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพเกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ สําหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการ ตั้งครรภ์และการคลอด วันละ 1-2 คนมีแม่และเด็กจํานวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู ้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม พบว่าในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านคลองขุด ตังแต่ปี 2564 – 2566 สภาวะการตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุตํ่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 7.6,8.54,10.20 ตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 65,58,40 ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 75,70,60 และปัญหาภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 3.1,6.15,9.80 ของการตังครรภ์ทังหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายคลอดคลอดบุตรนํ้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น อสม.หมูที่ 6 บ้านคลองขุด ได้ตระหนักถึงความสําคัญและความจําเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทําโครงการ “ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย”เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั ้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20 ขึนไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตังแต่เริมตังครรภ์กอน 12 สัปดาห์ มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มจํานวนหญิงตั ้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

40.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
3 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด ลดลง

12.80 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดําเนินการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดําเนินการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำหมู่บ้านเข้าใจในรายละเอียดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมให้ความรู ้การปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนก่อนการตังครรภ์และในระหว่างการตังครรภ์รวมไปถึงหลังคลอดแก่หญิงตังครรภ

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมให้ความรู ้การปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนก่อนการตังครรภ์และในระหว่างการตังครรภ์รวมไปถึงหลังคลอดแก่หญิงตังครรภ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• ค่าอาหารกลางวัน จํานวน 30 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จํานวน 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
• ค่าเอกสารการประชุม จํานวน 30 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
• ค่าไวนิลโครงการ 1 ผืน ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
• ค่าวิทยากร จํานวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
• ค่าอาหารเสริมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 50 ชุดๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และในระหว่างการตั้งครรภ์รวมไปถึงหลังคลอด และสามารถนําไปปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อให้หญิงตังครรภ์มาฝากครรภ์กอน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ฝากครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปและภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ดีขึ้น
2.เพื่อพัฒนาความรู้และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
3.เพื่อสร้างและขยายเครื่อข่ายอาสาสมัครในชุมชนในการดูแลช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ในเขตได้อย่างมีคุณภาพ


>