กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านบางขวน ปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

รพ.สต.บ้านบางขวน

นายสายัน ไข่แก้ว
นางสาวละมัย รักษ์แก้ว
นางสุนิษา มูละ
นางสาววาสนา นุ้ยผอม
นางสาวนิชาภา อัศวนิธิ

หมู่ 6 บ้านบางขวนและ หมู่ 8 บ้านแหลมไก่ผู้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

36.71
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

 

60.16

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวและนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารจานด่วน มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในระดับต้นๆเป็นโรคที่มีปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
รพ.สต.บ้านบางขวนมีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาต่อเนื่องจำนวน 128 รายควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 60.16ซึ่งทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้าและไตวายและจากการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 15ปีขึ้นไปยังพบว่ามีผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์ปกติ และเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 268 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.71 ซึ่งหากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมสุขภาพ จะส่งผลต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานในอนาคตจึงได้ัจัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลได้ ลดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้อง ป้องกันการป่วยเป็นโรคเบาหวานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์

60.16 50.00
2 เพื่อให้ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ลดลง

3.60 1.50
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานจากกลุ่ม Pre-DM(ภาวะก่อนเบาหวาน)ลดลง

1.50 0.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มผู้ปวยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มผู้ปวยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ปวยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 10 ราย และ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง 40 ราย รวมจำนวน 50 ราย ค่าอาหารกลางวันจำนวน1 มื่้อ มื้อละ 70 บาท =3,500บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท =2,500 บาท เป็นเงิน6,000 บาท

2.ค่าวัสดุจัดทำโครงการ จำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
3.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ แบบเอกสารให้ความรู้ และแบบติดตามการดูแลสุขภาพ จำนวน 500 บาท
4.ค่าจ้างป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด 2 x2.5 ตรม ตรม.ละ200 บาท=1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 นัดติดตาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
นัดติดตาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 ราย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท =1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพปัญหาของผู้่ป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน มีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ ลดภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้าและผู้ป่วยโรคเบาหวานจากกลุ่มเสี่ยงลดลง


>