กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอไตเสื่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย

1.นายบุญทศ ประจำถิ่น
2.นางสาวชุติมา วงศ์ปัดสา
3.นางระพีพรรณ สว่างแสง
4.นางดรรชนี เขียนนอก
5.นางสาวพจนีย์ ฝุ่นทอง

9 หมู่บ้านในเขตตำบลสงเปือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต มีค่าใช้ และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยรวมปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมชน และหมู่บ้านทั่วประเทศจึงถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนร่วมมือผลักดันทศวรรษการป้องกันและชะลอภาวะไตเรื้อรัง เพื่อขับเคลื่อนและร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไตทุกระดับ ซึ่งจะเป็นพลังในการแก้ไขปัญหาโรคไตอย่าง ยั่งยืนได้ งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นจึงมีความสำคัญยิ่งในการป้องกันและชะลอ การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ให้มีจำนวนที่ลดลงได้ในอนาคต อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะของเทศบาล (19)การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาลและมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งที่5/2565 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบนโยบายทศวรรษมาตรการการชะลอไตเสื่อมเพื่อลดผู้ป่วยโรคไตรายใหม่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
จากศึกษาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตที่มารับบริการมีค่าการเสื่อมของไต e –GFR (ไตเสื่อมระยะ 2 และ 3 ) มากกว่า 80 % จากการสอบถามจึงพบว่า ผู้ป่วยรับประทานอาหารรสจัด เช่น รสเค็ม รสหวาน รสมัน เป็ฯต้น ซึ่งผู้ป่วยมักจะปรุงอาหารรับประทานเอง และผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองรับประทานอาหารรสเค็มจัดหรือไม่ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมโซเดียมในอาหารที่มีความสำคัญในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสื่อมของไต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือยจึงเห็นความสำคัญของการป้องกันและชะลอภาวะไตวายเรื้อรังอย่างยั่งยืน เพื่อขอรับงบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสงเปือย ในการจัดบริการสาธารณสุข ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบสงเปือยให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัว และยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาชนในตำบลสงเปือยสามารถรับบริการตรวจวัดความเค็มในอาหารได้สะดวก

ประชาชนสามารถรับบริการตรวจวัดความเค็มในอาหารได้สะดวก

1.00
2 เพื่อให้ประชาชนทราบถึงปริมาณความเค็มของอาหารที่ตนเองรับประทานการเพื่อนำไปปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานที่ส่งผลต่อการชะลอเสื่อมของไตให้กับประชาชนทั่วไปได้

พฤติกรรมในการรับประทานอาหารเค็มลดลง

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และการใช้งานเครื่องวัดความเค็มเพื่อให้แกนนำสามารถนำเครื่องมือไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสามารถนำเครื่องมือไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อเครื่องมือวัดความเค็ม

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อเครื่องมือวัดความเค็ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อเครื่องมือวัดความเค็ม จำนวน 10 เครื่อง ๆ ละ 1,900 บาท เป็นเงิน 19,000 บาท เพื่อนำไปให้แกนนำปฏิบัติงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครื่องมือในการตรวจวัดความเค็ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 3 แกนนำรับเครื่องมือในการตรวจวัดความเค็ม

ชื่อกิจกรรม
แกนนำรับเครื่องมือในการตรวจวัดความเค็ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตัวแทน อสม. ประจำหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน ลงทะเบียนรับเครื่องมือวัดความเค็ม และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบทราบการเข้ารับบริการตรวจวัดความเค็มในอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสามารถให้บริการประชาชนในการตรวจวัดปริมาณความเค็มในอาหารได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน เช่น ลดหวาน มัน เค็ม โดยการให้แกนนำออกสุ่มตรวจอาหารโดยใช้เครื่องมือในการตรวจวัดความเค็มในอาหาร เพื่อให้บุคคลในครัวเรือนทราบถึงพฤติกรรมในการรับประทานอาหารในครัวเรือนของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานได้อย่างถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพในอนาคต

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารได้อย่างถูกต้องตามหลักอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลสงเปือยสามารถรับบริการตรวจวัดความเค็มในอาหารได้สะดวกยิ่งขึ้น
2.ประชาชนทราบถึงปริมาณความเค็มของอาหารที่ตนเองรับประทานการแล้วนำไปปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานที่ส่งผลต่อการชะลอเสื่อมของไตให้กับประชาชนทั่วไปได้


>