กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย “ความรู้เรื่องสมุนไพร และกัญชาทางการแพทย์แผนไทย” ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพทั้งกายและใจให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ แต่ขาดในเรื่องความตระหนักและจะกลับมาใส่ใจสุขภาพ เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นทั้งกับตนเองหรือคนในครอบครัวจึงไม่สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ประกอบกับการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ และให้ความสำคัญการทำงานเพื่อหาปัจจัยยังชีพ การพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองหรือคนในครอบครัว ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้การดูแลความเจ็บป่วยเบื้องต้นเหล่านั้นไปอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ด้วยการบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้สมุนไพร และนอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายการใช้กัญชาทางการแพทย์ในฐานะพืชเศรษฐกิจและผลักดันให้กัญชาเป็นพืชทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย กัญชาทางการแพทย์ อาจยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย แต่ถ้าทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชนร่วมกันทำความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้อย่างถูกวิธี ก็จะเกิดประโยชน์มหาศาลทั้งด้านการรักษาทางการแพทย์ ตลอดจนด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต การเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์ สารสกัดจากกัญชาเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ขณะนี้การนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต้องผ่านกระบวนการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุดและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด รวมทั้งถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ผิดหลักการของศาสนา
งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และการใช้สมุนไพรกัญชาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และถูกต้องตามหลักการศาสนา เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชาในสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษากำหนดเป็นมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้กัญชาในนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากร ในสถานศึกษา ประกอบกับประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่สามารถใช้และเข้าถึงกัญชาได้" งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย “ความรู้เรื่องสมุนไพรและกัญชาทางการแพทย์แผนไทย” ประจำปี 2567 ให้แก่กลุ่มประชาชนที่เป็นแกนนำชุมชน กลุ่มแกนนำนักเรียนนักเรียน ในโรงเรียน จำนวน 3 โรงเรียน เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และการใช้สมุนไพรกัญชาอย่างถูกต้อง และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนในครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและรู้จักสมุนไพรกัญชา

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและรู้จักสมุนไพรกัญชา

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรกัญชาในการรักษาโรคเบื้องต้น

ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรกัญชาในการรักษาโรคเบื้องต้น

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสมุนไพรกัญชามากขึ้น และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในครอบครัวและชุมชนได้

ร้อยละ 85 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสมุนไพรกัญชามากขึ้น และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในครอบครัวและชุมชนได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ×35 บาท x2 มื้อ x1 รุ่น    เป็นเงิน  3,500  บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ×75 บาท x1 มื้อ x1 รุ่น    เป็นเงิน  3,750  บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน จำนวน 50 คน ×35 บาท x1 มื้อ x3 รุ่น เป็นเงิน  5,250  บาท
  4. ค่าชุดเอกสาร จำนวน 200 ชุด x 40 บาท                           เป็นเงิน  8,000  บาท
  5. ค่าเอกสารก่อน-หลังการอบรม จำนวน 400 ชุด x 1 บาท          เป็นเงิน    400  บาท
  6. ค่าตอบแทนวิทยากร  500 บาท × 3 ชม. x 1 วัน x 4 รุ่น          เป็นเงิน    6,000    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและรู้จักสมุนไพรกัญชามากขึ้น
2. กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำสมุนไพรกัญชาในการรักษาโรคเบื้องต้น รู้จักโทษ และประโยชน์ของสมุนไพรกัญชามากขึ้น
3. กลุ่มแกนนำประชาชนและกลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้เผยแพร่ให้กับคนในครอบครัวและชุมชนได้


>