กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดู่ใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยตำบลดู่ใต้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดู่ใต้

คณะกรรมการหมู่บ้านดู่ใต้ หมู่ที่2

นางสมัย พรมรังฤทธิ์ นางอุไรวรรณ อิ่นแก้ว นางอัญชลี ครุธเกตุ นางสาววาริกาโพธิ์แก้ว และ นางดาว อินผ่อง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลดู้ใต้และบ้านธงน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

 

53.51

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย

ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

53.51 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการบริหารศูนย์เด็กเล็กเทศบาลดู้ใต้และบ้านธงน้อยค่าอาหารวางและเครื่องดื่ม 50 บาท และอาหารกลางวัน 100 บาท x 50 คน =7500 บาท ป้ายโครงการ = 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุม จำนวน 50คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำลู่จักรยานทาสีเครื่องเล่น =8,000 บาท2. จัดหาอุปกรณ์สาธิต 5 ชุด x 2000 บาท = 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 10 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการใช้จักรยานขาไถ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการใช้จักรยานขาไถ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการใช้จักรยานขาไถแก่ครูและเด็กเล็ก ค่าอาหารว่างแลเเครื่องดื่ม 50 x 50คน=2,500 บาท ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมงๆละ 500 บาท= 1000 บาท 2. ฝึกการใช้จักรยานขาไถ 3 วันต่อสัปดาห์

รายละเอียด ดังนี้ การจัด อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้จักรยานขาไถ (Balance Bike) เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของเด็กหรือผู้เริ่มต้นใช้จักรยาน โดยกิจกรรมนี้เน้นการเรียนรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ซึ่งสามารถสร้างความสนุกสนานและพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดของการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้จักรยานขาไถ

วัตถุประสงค์ของการอบรม 1. เพื่อพัฒนาทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของเด็กผ่านการใช้จักรยานขาไถ 2. เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เด็กในการเรียนรู้การขี่จักรยาน 3. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายในเด็ก 4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ผ่านกิจกรรมที่ผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมและสนับสนุนเด็กได้

กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กอายุ 2-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการเรียนรู้การทรงตัว
  • ผู้ปกครองที่สนใจร่วมกับเด็กในการสนับสนุนการเรียนรู้การขี่จักรยานขาไถ
  • ครูหรือผู้ฝึกสอนที่ต้องการเรียนรู้วิธีการสอนและส่งเสริมการใช้จักรยานขาไถในเด็ก

รูปแบบของการอบรม

  1. การเรียนรู้เชิงทฤษฎี:

    • แนะนำหลักการของการใช้จักรยานขาไถ เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหว และประโยชน์ที่ได้จากการฝึกฝน
    • การอธิบายกฎระเบียบความปลอดภัยในการใช้จักรยานขาไถ เช่น การสวมหมวกกันน็อค อุปกรณ์ป้องกัน และการเลือกจักรยานที่เหมาะสมกับขนาดของเด็ก
  2. การฝึกปฏิบัติ:

    • การสอนเทคนิคการใช้จักรยานขาไถ เช่น การเริ่มเคลื่อนที่ การดันเท้าเพื่อควบคุมจักรยาน การหยุด การเลี้ยว และการทรงตัว
    • การจัดกิจกรรมเกมสนุก ๆ ที่ช่วยฝึกทักษะการเคลื่อนไหว เช่น การแข่งจักรยานขาไถ การเล่นเกมผ่านสิ่งกีดขวางเล็ก ๆ เพื่อให้เด็กฝึกการควบคุม
    • ให้เด็กและผู้ปกครองได้ฝึกฝนการใช้จักรยานขาไถร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และการสนับสนุนจากครอบครัว
  3. กิจกรรมสร้างแรงจูงใจ:

    • การจัดการแข่งขันเล็ก ๆ ในกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อสร้างความสนุกสนานและความท้าทายในการพัฒนาทักษะ
    • การมอบรางวัลหรือประกาศนียบัตรเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และฝึกฝนต่อไป

สถานที่และอุปกรณ์

  1. สถานที่: สนามที่กว้างขวางและมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น สวนสาธารณะ ลานกิจกรรมของโรงเรียน หรือสนามในชุมชน
  2. อุปกรณ์ที่ใช้:
    • จักรยานขาไถที่เหมาะสมกับขนาดตัวของเด็ก
    • อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน็อค สนับเข่า สนับศอก
    • อุปกรณ์เสริมสำหรับกิจกรรมการฝึก เช่น กรวยวางสิ่งกีดขวาง เส้นทางจักรยานจำลอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2567 ถึง 22 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็ก การใช้จักรยานขาไถอย่างต่อเนื่องและมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตามและสรุปผลการใช้จักรยานขาไถ

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและสรุปผลการใช้จักรยานขาไถ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน เป็นจำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 29 ก.ค. 67 - 2 ส.ค. 67
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 5 ส.ค. 67 - 9 ส.ค. 67 สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 12 ส.ค. 67 - 16 ส.ค. 67 สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 19 ส.ค. 67 - 23 ส.ค. 6

2.สรุปผลการใช้ใช้จักรยานขาไถ 1 ครั้ง สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 26 ส.ค. 67- 30 ส.ค. 67

3. วิธีการติดตามผลการใช้จักรยานขาไถ การสังเกตพฤติกรรมการเล่นและการเคลื่อนไหวของเด็ก: ผู้ดูแลสามารถสังเกตดูพัฒนาการของเด็กในด้านการทรงตัว การใช้เท้าดัน และการควบคุมทิศทาง ว่ามีความคล่องตัวมากขึ้นหรือไม่ การประเมินความมั่นใจและความถี่ในการเล่น: สามารถทำการสอบถามเด็กหรือผู้ปกครองเกี่ยวกับความมั่นใจในการใช้จักรยานขาไถ และดูว่ากิจกรรมนี้มีผลต่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันหรือไม่ การสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครอง: การสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับความพึงพอใจในกิจกรรมนี้ เพื่อดูว่าเด็กได้รับประโยชน์จากกิจกรรมอย่างไร และมีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมหรือไม่

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการใช้จักรยานขาไถและสรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
2. ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยและผู้ปกครองมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
3. ช่วยพัฒนาทักษะการทรงตัว การควบคุมร่างกาย และความมั่นใจในการเคลื่อนไหว
4. เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เมื่อพ่อแม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมกับลูก ๆ


>