กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักครอบครัว รักสุขภาพ ต.ศาลาใหม่ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลศาลาใหม่

ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่มีปัจจัยมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งพฤติกรรมของประชาชนที่ไม่เหมาะสม ดังกล่าวมีทั้งพฤติกรรมเสี่ยงร่วม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียดการขาดการออกกำลังกาย การบริโภคที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการเลี้ยงดูบุตรและการให้ความอบอุ่นในครอบครัว การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องและอนามัยส่วนบุคคลและมีพฤติกรรมเสี่ยงเฉพาะ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การใช้สารเสพติดในกลุ่มเยาวชน การเฝ้าระวังและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และขาดการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจร เป็นต้น จาการดำเนินนโยบาย “3 หมอ” ให้ประชาชนคนไทย 1 คน มีหมอประจำตัว 3 คน โดย หมอคนแรกคือ อสม. ทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนในการใส่ใจสุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี คัดกรองสุขภาพและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ ติดตามประสานงาน เยี่ยมบ้าน เคาะประตูดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงบ้าน เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ประสานงานกับแพทย์ พยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น ปฐมพยาบาล หรือส่งต่อ นอกจากนี้ ยังช่วยเฝ้าระวังสอดส่องเรื่องยาเสพติดในชุมชน หมู่บ้าน และประสานแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงอันตราย (https://www.thaipbs.or.th/news/content/325299)
จากสภาพปัญหาสาธารณสุขดังกล่าว เป็นรากฐานของระบบสาธารณสุขไทยที่แข็งแกร่ง จำเป็นต้องมีการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง จากการรับทราบและเข้าใจปัญหาสุขภาพของประชาชนได้ และเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีบทบาทมากขึ้นในการดูแลสุขภาพครอบครัวของตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการรักครอบครัว รักสุขภาพ ต.ศาลาใหม่ ปี 2567 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหาแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  1. ชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้านมีแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
1.00
2 2. เพื่อแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวสามารถประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ได้
  2. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวสามารถสรุปปัญหาและหาแนวทางจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 204
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำบลศาลาใหม่ 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 5,600.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25.- บาท  เป็นเงิน 4,000.-บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 คนๆละ 3 ชม.ๆละ 600.- บาท เป็นเงิน 10,800.- บาท
  • ค่าวัสดุอบรมให้ความรู้ จำนวน 80 ชุดๆละ 50.-บาท เป็นเงิน 4,000.-บาท รวมเป็นเงิน 24,400.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพได้รับความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24400.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดกิจกรรมให้ความรู้ และกิจกรรมส่งเสริมป้องกันสุขภาพรายกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมให้ความรู้ และกิจกรรมส่งเสริมป้องกันสุขภาพรายกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 464 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท  เป็นเงิน 11,600.-บาท
  • ค่าจัดป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน  1,000.-บาท รวมเป็นเงิน 12,600.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 5,600.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท  เป็นเงิน 2,000.-บาท รวมเป็นเงิน 7,600.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพมีส่วนร่วมในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน
2. ประชาชนตำบลศาลาใหม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และมีสุขภาพดี


>