กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดและโรคติดต่อในเด็ก อายุ 2 -5 ปีแก่ครู บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดและโรคติดต่อในเด็ก อายุ 2 -5 ปีแก่ครู บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองการศึกษาเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองการศึกษาเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ตลอดจนได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งเเวดล้อมอย่างเหมาะสมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งมีเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เสี่ยงต่อการป่วยและเเพร่ระบาดของโรคติดต่อสำหรับเด็กคนอื่นๆ ได้ง่าย เช่น โรคหวัด ไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก เป็นต้น ดังนั้นกองการศึกษา ซึ่งมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีเด็กอายุ 2 – 5 ขวบอนุบาล อยู่ในสังกัด จึงเล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้นในศูนย์เด็กเล็ก และเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพอนามัยที่ดี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง จะต้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อป้องกันโรคระบาดและโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยจากโรคติดต่อร้อยละ 80

100.00 100.00
2 2.เพื่อให้พ่อเเม่ผู้ปกครองป้องกันโรคติดต่อและรู้จักวิธีรักษาความสะอาดให้ปลอดจากโรคติดต่อในเด็ก

พ่อ แม่ ผู้ปกครองรู้จักวิธีป้องกันเด็กจากโรคติดต่อ และโรคระบาด  ร้อยละ 80

100.00 100.00
3 3.เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสะอาดปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค

อัตราโรคระบาดและโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งหว้าลดลงร้อยละ 80

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในเด็กและวิธีป้องกันการเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในเด็กและวิธีป้องกันการเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ ขั้นตอนวางแผนงาน
1. ขั้นเตรียมการ -ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะกรรมการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ -จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า 2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการ ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
2.2 ดำเนินการตามแผน 3. กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ 3.1  จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคระบาดและโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย 3.2  ติดตามประเมินผล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ 3.3  สรุปและรายงานผลภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จโครงการฯ 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในเด็กและวิธีป้องกัน รายละเอียดงบประมาณ
กิจกรรมที่ 1 1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 5 ช.ม.ๆละ  600 บาท   เป็นเงิน  3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 35 บาท  จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 4,900 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 70 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท 4.ค่าเอกสารและอุปกรณ์เครื่องเขียน
-ซองเอกสารพลาสติก  จำนวน  70 ซองๆละ  25  บาท เป็นเงิน  1,750 บาท -สมุด  จำนวน  70 เล่มๆละ 10  บาท  เป็นเงิน  700 บาท -ปากกา  จำนวน  70  ด้ามๆละ  10  บาท  เป็นเงิน  700 บาท -ค่าเอกสารความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและโรคระบาด จำนวน  70 เล่มๆละ  20  บาท  เป็นเงิน  1,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,350.-บาท (-เงินหนึ่งหมื่นเจ็ดพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)   ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลและควบคุมโรคติดต่อในเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
  2. เพื่อขจัดปัญหาสุขภาพของเด็กนักเรียนเช่น โรคหวัด โรคมือเท้าปากโรคอื่นๆที่ติดต่อจากการสัมผัสและใช้ของใช้ร่วมกัน
  3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักความสะอาดและรู้จักดูแลรักษาความสะอาดของตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลและควบคุมโรคติดต่อในเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อขจัดปัญหาสุขภาพของเด็กนักเรียนเช่น โรคหวัด โรคมือเท้าปากโรคอื่นๆที่ติดต่อจากการสัมผัสและใช้ของใช้ร่วมกัน
3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักความสะอาดและรู้จักดูแลรักษาความสะอาดของตนเอง


>