กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา

-

ในเขตพื้นที่ตำบลบางเขา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มลพิษอากาศและสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข โดยมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเก็บป่วยและเสียชีวิต ทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อที่ก่อให้เกิดการสูญเสียด้านสุขภาพอันดับต้นของโลก ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ได้รายงานว่าในช่วง 9 สัปดาห์แรกของปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศแล้ว 1.6 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 1.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 116 และพบมากในพื้นทีภาคเหนือ จากสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ดังนั้นมาตรการสำคัญด้านสาธารณสุข คือ การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ การพัฒนาความรู้ การสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนและชุมชนและมาตรการทางกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การจัดการมลพิษทางอากาศได้อย่างยั่งยืน
ปัญหามลพิษในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา มาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ได้แก่ควันพิษจากโรงงาน การขนส่งและการจราจร และการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาขยะ การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน การเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการทำการเกษตร นอกจากจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นล้วนก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกับประชาชน จากข้อมูลด้านสุขภาพอ้างอิงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา พบว่าอัตราผู้ป่วยเกี่ยวกับทางเดินหายใจในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาย้อนหลัง 3 ปี มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในปี 2565 จำนวน 342 ราย ปี 2566 จำนวน 410 ราย ปี 2567 จำนวน176 ราย (ข้อมูล 1 มกราคม 2567-14 มิถุนายน 2567) ด้วยเหตุผลข้างต้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา จึงจัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันการเกิดมลพิษทางอากาศประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจที่มาจากมลพิษทางอากาศ

อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในชุมชนลดลง

60.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน

เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

70.00 90.00
3 เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร (1.1) ค่าอาหารกลางวัน(ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 70 บาท/มื้อ) เป็นเงิน 3,500 บาท
    (1.2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ (2 มื้อ) เป็นเงิน 3,500 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,000.-บาท
  3. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 3.00 x 1.50 เมตร เป็นเงิน900.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษในอากาศ เข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลเดินรณรงค์การการลดมลพิษในอากาศ ขนาด 1.20X2.40 เมตร  เป็นเงิน  1,728.-บาท (จำนวน 3 ป้าย ราคาป้ายละ 576 บาท)
  2. ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (พัดพลาสติก) จำนวน100 อันๆละ 25 บาท        เป็นเงิน   2,500.- บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมรณรงค์ จำนวน 50 คน ๆละ 35 บาท   เป็นเงิน  1,750.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษในอากาศ เข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5978.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับปรุงภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดซื้อวัสดุที่จำเป็น เช่นค่าสีทาภายนอก ค่าจัดซื้อต้นไม้ ดินปลูก ลวด ฯลฯ  เป็นเงิน  2,000.-บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 35 คน ๆละ 35 บาท  เป็นเงิน  1,750.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,628.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการเกิดโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
2.ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
3.เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน


>